การปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเป็นโรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน เป็นโรคยอดฮิตของวัยทำงานไปจนถึงวัยชรา มีสาเหตุมาจากการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น ทานอาหารไม่ตรงเวลา ดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ รวมไปถึงความเครียดจากการทำงาน ก็ส่งผลให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้เช่นกัน หากมีอาการเรอเหม็นเปรี้ยว ปวดแสบปวดร้อนกลางอก กลืนลำบาก เจ็บหน้าอก ไอเรื้อรัง รวมถึงกล่องเสียง หรือหลอดอาหารอักเสบ เป็นสัญญาณของโรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease : GERD) เกิดจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร หรือส่วนน้อยเกิดจากด่างในลำไส้เล็ก โดยอาจมีหรือไม่มีอาการของหลอดอาหารอักเสบก็ได้ ซึ่งโรคนี้ไม่ใช่โรคแปลกใหม่สำหรับคนไทย แต่เป็นโรคที่พบมานานแล้ว และมีอัตราการพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
1. หลอดอาหารส่วนปลายคลายตัวโดยที่ยังไม่มีการกลืนอาหาร
2. ความดันจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าปกติ หรือเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร
3. เกิดจากความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหาร
4. เกิดจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิด หรือเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

การปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเป็นโรคกรดไหลย้อน? สิ่งสำคัญและง่ายที่สุด คือการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตดังต่อไปนี้
1. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ รวมถึงเครื่องดื่มและอาหารที่มีรสจัด
2. ลดน้ำหนักระวังน้ำหนักร่างกายไม่ให้เกินมาตราฐาน โดยหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
3. ไม่ควรรับประทานอาหารแล้วนอนทันที ควรเดินหรือขยับร่างกายอย่างน้อย 3 ชั่วโมง เพื่อให้อาหารย่อย
4. ใส่เสื้อผ้าที่ไม่คับ หรือรัดแน่นจนเกินไป
5. พยายามนั่งตัวให้ตรงอยู่ตลอดเวลา
6. นอนหัวสูง 6-8 นิ้ว โดยเอียงขึ้นตั้งแต่ระดับเอวไปจนถึงศีรษะ ไม่ใช่แค่การหนุนคอ
7. หากมีอาการ สามารถบรรเทาอาการด้วยยาสามัญ เช่น ยาต้านกรดน้ำสีขาว
8. หากอาการไม่ดีขึ้น หรือเป็นรุนแรง ควรรีบพบแพทย์

โรคกรดไหลย้อน แม้จะไม่ร้ายแรงถึงชีวิตแต่ก็ส่งผลร้ายทางร่างกายและคุณภาพชีวิต รวมถึงการทำงาน งานอดิเรกและการใช้ชีวิตประจำวัน ใครที่มีอาการดังกล่าว ควรรีบไปรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางระบบทางเดินอาหารและตับ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามและเรื้อรังต่อไป

ขอขอบคุณรูปภาพจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ

Facebook
Twitter
LinkedIn
Telegram
Pinterest
5/5
ประกันผู้สูงอายุ ดูแลสุขภาพ
ประกันสุขภาพ

แนะนำ ประกันสุขภาพ ในผู้สูงอายุ ที่น่าสนใจ มีค่ายไหนบ้าง อย่างไร

การเลือกซื้อประกันสุขภาพ แนะนำ ประกันสุขภาพในผู้สูงอายุ ที่น่าสนใจ มีค่ายไหนบ้างอย่างไร เพราะยิ่งอายุมากขึ้นเรายิ่งไม่ควรประมาทกับชีวิต