สำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นอาจนำไป สู่โรคร้ายแรงเกี่ยวกับข้อได้เช่นเดียวกับโรคข้อเสื่อม โรคเหล่านี้จะทำให้ข้อเจ็บปวดเรื้อรัง เคลื่อนไหว ยากและบวม “การปวดบวมอักเสบเรื้อรังทำให้ กระดูกและกระดูกอ่อนเสียหาย โรคข้อเสื่อม มักทำให้ปวดเข่าหรือขาเพียงข้างเดียว แต่โรค ข้ออักเสบรูมาตอยด์มักจะทำให้เจ็บปวดทั้งสองข้าง ในเวลาเดียวกัน”
ปฏิวัติการผ่าตัดใส่ข้อเทียม
ปฏิวัติการผ่าตัดใส่ข้อเทียม ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก จนกระทบกับการดำเนินชีวิตตามปกติ นายแพทย์สิทธิพรกล่าวว่า “การผ่าตัดใส่ ข้อเข่าหรือข้อสะโพกเทียมถือเป็นทางเลือก ที่ดีทางหนึ่ง” เมื่อสิบปีก่อน การผ่าตัดใส่ข้อเข่าหรือข้อ สะโพกเทียมอาจฟังดูรุนแรงและน่ากลัว แต่ปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์และวิธีการ รักษา ช่วยให้การผ่าตัดใส่ข้อเทียมได้ผลเป็น อย่างดีและไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป แต่กลับ เป็นการรักษาที่ทำให้ผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม
ข้อเข่าคือบริเวณที่กระดูกขาท่อนบน (femur) มาบรรจบกับกระดูกขาท่อนล่างที่เรา เรียกว่าหน้าแข้ง (tibia) และสะบ้า โดยมีกระดูกอ่อน ทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกอยู่บริเวณผิวกระดูก โดยทั่วไป เมื่อผ่าตัดเข่า แพทย์จะกำจัด ผิวกระดูกที่เสียบริเวณกระดูกขาท่อนบน ท่อนล่าง และสะบ้าออก จากนั้นจะทำการตกแต่งกระดูก บริเวณนั้นก่อนจะใส่ข้อเข่าเทียมเข้าไปแทน โดยส่วนใหญ่แล้ว การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม ผู้ป่วยจะต้องนอนพักที่โรงพยาบาลเป็นเวลานานและ ใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะหายเป็นปกติ “แต่ปัจจุบัน ผู้ป่วยใช้เวลาในโรงพยาบาลเพียง 4-7 วันเท่านั้น ส่วนระยะเวลาในการฟื้นตัวก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย อายุ และปัจจัยอื่น ๆ ของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งส่วนใหญ่เจ็บน้อยกว่า และหายเร็วกว่า นวัตกรรมใหม่ ๆ ทำให้วัสดุที่ใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมมีรูปแบบหลากหลาย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะที่เทคนิกในการผ่าตัดก็พัฒนาขึ้นด้วย โดยทำให้ บาดแผลมีขนาดเล็กลงซึ่งส่งผลกระทบกระเทือนต่อเนื้อเยื่อโดยรอบน้อยลง “การผ่าตัดแบบแผลที่เล็กลงทำให้บริเวณกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ และเส้นเอ็นมีการบาดเจ็บ น้อยลงในระหว่างการผ่าตัด หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะเจ็บน้อยลง สามารถลุกขึ้นเดิน ได้เร็วขึ้น และไม่ต้องอยู่โรงพยาบาลนานอีกด้วย”
การผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม สะโพกมีลักษณะเป็นข้อต่อขนาดใหญ่ที่รองรับน้ำหนักเกือบทั้งหมด ของร่างกาย รวมถึงการเคลื่อนไหวต่าง ๆ โดยที่ส่วนหัวของกระดูกต้นขา (femoral head) มีลักษณะคล้ายลูกบอลที่อยู่ในเบ้าสะโพก (acetabulum) บริเวณเชิงกราน ชั้นของกระดูกอ่อนจะช่วยให้ส่วนหัวคล้ายลูกบอล เคลื่อนไหวได้อย่างสะดวกภายในเบ้าสะโพก ในการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียมนั้น แพทย์จะตัดส่วนของหัวคล้าย ลูกบอลออกและใส่ข้อสะโพกเทียมเข้าไปแทน โดยส่วนกระดูกอ่อนที่ เสียหายจะถูกกำจัดออกไปจากเบ้าด้วย เช่นเดียวกับการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม การผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม นิยมใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากไม่ต้องอยู่ โรงพยาบาลนาน และยังฟื้นตัวได้เร็วกว่าการรักษาโรคแบบเดิม นอกจากนี้การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อสะโพกเทียมก็เป็นทางเลือกที่ดี สำหรับผู้ป่วยที่อายุยังไม่มาก เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่ยังเก็บรักษากระดูก ส่วนใหญ่ไว้ โดยที่แพทย์เพียงทำการกรอกระดูกส่วนที่เสียโดยไม่จำเป็น ต้องกำจัดออกทั้งหมด จากนั้นจึงจะทำการใส่วัสดุประเภทโลหะรูป ครึ่งวงกลมเข้าไปแทน ทำให้ผู้ป่วยอายุ 40 – 50 ปีสามารถกลับมา ใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างดี