ตรวจสุขภาพผู้หญิง ประจำปี ที่จำเป็น มีอะไรบ้าง

ตรวจสุขภาพประจำปี

ตรวจสุขภาพผู้หญิงประจำปี มีอะไรบ้าง

การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบันนี้โรคภัยไข้เจ็บ ไม่ว่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากเชื้อโรค หรือโรคประเภทโรคเรื้อรัง มีมากมายจนเราตามไม่ทัน และบางโรคก็ยังไม่มีการรักษาเนื่องจากว่าการพัฒนาของตัวเชื้อรุดหน้าไปเร็วไม่แพ้เทคโนโลยีทางการแพทย์ ผลที่สำคัญจึงเกิดขึ้นว่าการดูแลสุขภาพด้วยตัวเองคงยังไม่เพียงพอ สิ่งสำคัญคือการตรวจสุขภาพประจำปีในผู้หญิงมีอะไรบ้าง ที่จะช่วยทำให้เราห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บและเป็นการป้องกันตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ การพบแพทย์เป็นประจำสม่ำเสมอ การตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และเป็นสิ่งที่เราควรทำ โปรแกรม การ ตรวจสุขภาพผู้หญิง ประจำปี ในปัจจุบันนี้มีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

การตรวจความดันโลหิต
ผู้หญิงควรตรวจความดันโลหิตอย่างน้อยทุกๆ 2 ปี โดยดูตัวเลขความดัน ถ้าหากตัวเลขด้านบนอยู่ระหว่าง 120 139 และตัวเลขด้านล่างอยู่ระหว่าง 80-89 หรือมากกว่านั้น ควรพบแพทย์และทำการตรวจวัดความดันเป็นประจำทุกปี แต่ถ้าหากตัวเลขตัวบนสูงกว่า 140 ตัวล่างสูงกว่า 90 ควรทำการพบแพทย์โดยด่วน เพราะคุณมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดัน และถ้าหากคนเป็นเบาหวานโรคหัวใจคุณควรตรวจความดันโลหิต เป็นประจำสม่ำเสมออย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี

การตรวจระดับคลอเรสเตอรอล
ผู้หญิงในช่วงอายุระหว่าง 20 ถึง 45 ปีควรเริ่มตรวจระดับคลอเรสเตอรอล และหากพบว่ามีระดับคอเลสเตอรอลปกติก็ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา หรือเข้ารับการตรวจไปอีก 5 ปี แต่ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นภายในช่วง 5 ปี หลังการตรวจให้มาตรวจซ้ำทันที ถ้าหากคุณเป็นเบาหวานเป็นโรคหัวใจหรือมีปัญหาโรคไตควรที่จะตรวจระดับคลอเลสเตอรอลบ่อยครั้งกว่านี้

การตรวจเบาหวาน
• เด็กที่อายุ 10-11 ปี แต่มีน้ำหนักตัวเกินหรือมีภาวะอ้วน รวมทั้งมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานเช่นน้ำหนักแรกคลอดน้อยหรือมารดาเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
• ผู้ที่มีกรรมพันธ์เป็นเบาหวาน
• หญิงกำลังตั้งครรภ์ หรือเคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน
• ผู้ที่มีภาวะอ้วนมากลดน้ำหนักเกินเกณฑ์โดยเฉพาะประเภทการอ้วนลงพุงโดยเราจะวัดค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 ปีขึ้นไปและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นเบาหวานร่วมด้วย
• ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือมีความดันโลหิตสูงมากกว่า 135 /80
• ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ

การตรวจเต้านมและการเอกซเรย์เต้านม
• หญิงอายุระหว่าง 20 ถึง 40 ปีควรมีการตรวจเต้านมร่วมด้วย ซึ่งเราสามารถตรวจหามะเร็งเต้านมเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองทุกเดือน โดยการคลำหาก้อนเนื้อที่เต้านม แต่จะเป็นวิธีการที่อาจจะไม่สามารถช่วยในการวินิจฉัยได้เท่าที่ควร ดังนั้น ควรพบแพทย์เพื่อทำการเอกซเรย์จะเป็นการดีที่สุด
• ปกติแล้ว ไม่แนะนำให้หญิงอายุน้อยกว่า 10 ปีตรวจเมมโมแกรม แต่ถ้าหากคุณมีกรรมพันธุ์สายตรง เช่นแม่หรือพี่น้องที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่ช่วงอายุในน้อยๆ คุณก็ควรเข้ารับการตรวจแมมโมแกรมทุกปี โดยเริ่มตรวจคัดกรองตั้งแต่ก่อนอายุช่วงที่ญาติคนดังกล่าวพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งเต้านมด้วย
• หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านม แพทย์จะทำการพิจารณาและแนะนำให้เข้ารับการตรวจเมมโมแกรมอัลตร้าซาวด์เต้านมหรือสแกน MRI เพื่อหาความผิดปกติอีกครั้ง
• ควรพบแพทย์ทันทีที่สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงในเต้านมของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการคลำพบก้อนเนื้อด้วยตัวเองหรือมีอาการเจ็บที่เต้านมก็ตาม

การตรวจอุ้งเชิงกรานและการตรวจแปบสเมียร์
• ผู้หญิงควรเริ่มตรวจพรุ่งเชิงกรานและเปปสเมีย เมื่ออายุ 21 ปีและมีการตรวจคัดกรองหามะเร็งปากมดลูกหลังจากนั้นทุกๆ 3 ปี หรือถี่ขึ้นเมื่อมีอาการผิดปกติ
• หากมีอายุมากกว่า 30 ปีและผลการตรวจแป๊บสเมียกับ hpv เป็นปกติ ก็สามารถเข้ารับการตรวจแป๊บสเมียร์ทุกๆ 5 ปีได้
• หากคุณเคยผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดและไม่เคยเป็นมะเร็งปากมดลูกมาก่อนไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจแป๊บสเมีย
• หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ควรเข้ารับการตรวจหนองในเทียมและหนองในแท้จนกว่าอายุจะครบ 25 ปีส่วนผู้หญิงที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงสูงก็ควรเข้ารับการตรวจเช่นกัน
• การตรวจสอบเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ถ้าจะมีการสอบถามเกี่ยวกับภาวะการซึมเศร้าเพื่อใช้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆเพิ่มเติม
การตรวจประเมินผิวหนัง

สำหรับผู้หญิงอายุ 18 ถึง 39 ปี แพทย์ออกตรวจผิวหนังของคุณเพื่อที่ดูสัญญาณของโรคมะเร็งผิวหนัง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงหรือผู้ที่เคยเป็นมะเร็งผิวหนังมากกว่าและมีญาติใกล้เคียงเป็นมะเร็งผิวหนังหรือผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

Facebook
Twitter
LinkedIn
Telegram
Pinterest
5/5
Targeted Therapy การรักษามะเร็งวิธีใหม่
การดูแลสุขภาพ

Targeted Therapy การรักษามะเร็งวิธีใหม่ เพื่อการมีสุขภาพที่ดี

Targeted Therapy การรักษามะเร็งวิธีใหม่ เป็นรูปแบบของการรักษามะเร็งรูปแบบใหม่และจะเป็นการรักษาที่สามารถจัดการได้ตรงจุด ผลข้างเคียงน้อยกว่าเดิม

ตรวจสุขภาพประจำปี
การดูแลสุขภาพ

โปรแกรมการ ตรวจสุขภาพผู้ชาย ประจำปี ต้องตรวจอะไรบ้าง

การตรวจสุขภาพประจำปีในผู้ชาย ผู้ที่ยังไม่เคยได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี  มักจะไม่ทราบและละเลย โปรแกรมการตรวจสุขภาพที่สำคัญ คัดกรองความเสี่ยงจากโรคภัยต่างๆ