การตรวจสุขภาพ เพื่อค้นหามะเร็ง
มะเร็ง เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้าหากเราตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยการรักษามะเร็งด้วยวิธีการผ่าตัดและเสริมด้วยยารวมถึงการฉายแสงในบางรายแต่โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะพบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งเป็นจำนวนมากเนื่องจาก ส่วนใหญ่มีโอกาสตรวจพบโรคมะเร็ง ในช่วงที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ดังนั้นการรักษาจึงค่อนข้างทำได้ยาก สาเหตุหลักที่สำคัญคือคนไทยไม่นิยมรับการคัดกรองโรคมะเร็งเนื่องจากมีความเข้าใจผิด ว่าเราไม่มีอาการผิดปกติดังนั้นไม่ต้องตรวจมะเร็งก็ได้ การมองไม่เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ทำให้หลายคน ไปตรวจเจอมะเร็งอีกครั้งก็พบว่าเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายแล้ว การตรวจสุขภาพประจำปี และการคัดกรองมะเร็งซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญคำ แนะนำการตรวจสุขภาพเพื่อค้นหามะเร็ง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อที่จะให้เราตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยกระทำในผู้ที่มีภาวะเสี่ยงและไม่มีอาการซึ่งจะสามารถทำให้เราเพิ่มช่องทางและเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคให้หายขาดได้ ทั้งยังเป็นการลดอัตราการเสียชีวิต ซึ่งวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งนั้นไม่รุนแรงจนเกินไป ซึ่งการตรวจสุขภาพเพื่อค้นหามะเร็งนี่มะเร็ง ควรตรวจในกลุ่มต่างๆดังนี้
มะเร็งเต้านม
• กลุ่มความเสี่ยงปกติอายุ 25-30 9 ปี ให้พบศัลยแพทย์ เพื่อตรวจเต้านมทุก 1-3 ปีและผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปให้พบศัลยแพทย์ทุก 1 ปีและทำเมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวด์ทุก 1 ปีเช่นกัน
• กลุ่มความเสี่ยงสูงคือกลุ่ม ที่เคยป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมมาก่อนหรือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมตามประวัติครอบครัวมากกว่า 20% ผู้ป่วยที่เคยได้รับการฉายแสงที่บริเวณหน้าอก ผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปและมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่ 1.7% ภายใน 5 ปี ตาม Gail model ผู้ป่วยที่เคยตรวจพบพยาธิสภาพตั้งต้นของมะเร็งเต้านมให้ตรวจเร็วขึ้น
มะเร็งลำไส้ใหญ่
• กลุ่มความเสี่ยงปกติ ที่คนที่ไม่เคยมีติ่งเนื้อในลำไส้ ไม่เคยมีประวัติเป็น Inflammatory bowel disease ไม่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ กลุ่มนี้สามารถเริ่ม 2 กล้องตรวจลำไส้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 50 ปีและติดตามทุกๆ 3 ปีหากพบติ่งเนื้อ ความเสี่ยงสูง 5 ปีในกลุ่มที่พบสิ่งเนื้อมีความเสี่ยงต่ำและ 10 ปีในกลุ่มที่ผลการส่องกล้องปกติ
• กลุ่มความเสี่ยงสูง เป็นกลุ่มที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในกรณีที่มีญาติสายตรง พ่อแม่พี่น้องท้องเดียวกันและลูกเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้เริ่มตรวจส่องกล้องลําไส้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี หรือ 10 ปีก่อนอายุที่ญาติสายตรงได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
• ถ้ามีญาติสายรอง ได้แก่ลุงป้าน้าอาปู่ย่าตายาย เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยขณะที่เซเว่นมีอายุน้อยกว่า 50 ปีให้เราเริ่มตรวจส่องกล้องลําไส้ใหญ่อายุ 50 ปี
• ถ้ามีญาติสายตรง ได้แก่ พ่อแม่พี่น้องท้องเดียวกันและลูกมีการตรวจพบติ่งเนื้อความเสี่ยงสูง ขนาดติ่งเนื้อตั้งแต่ 1 cm ให้เริ่มตรวจส่องกล้องลําไส้ใหญ่อายุ 40 ปีหรือ 10 ปีก่อนอายุที่ญาติสายตรงตรวจพบมะเร็งติ่งเนื้อความเสี่ยงสูง
มะเร็งปอด
จะใช้การตรวจด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยใช้ปริมาณรังสีต่ำและจะทำในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้นได้แก่กลุ่มที่มีอายุ 55 ถึง 74 ปีและเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ตั้งแต่ 30 Song ต่อปี และเลิกบุหรี่น้อยกว่า 15 ปี อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปรวมกับความเสี่ยงอื่นๆที่ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งปอด
มะเร็งตับ
จะพิจารณาตรวจตับด้วยคลื่นความถี่สูงที่เรียกว่าอัลตราโซโนกราฟฟี่และจะตรวจเลือดหาซีรั่ม Alpha fetoprotein ทุก 6-12 เดือน ในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปีและผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี ผู้ที่มีประวัติมะเร็งตับในครอบครัว ผู้ที่เป็นตับแข็ง
มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยถึง 7 คนต่อวัน จากสถิติจะพบว่า หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก เฉลี่ยปีละ 6,000 ราย ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า เอชพีวี (Human Papilloma Virus; HPV) สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ กลุ่มอายุ 9-26 ปีที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ สามารถป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัส HPV
แต่สิ่งที่ทำให้โรคนี้น่ากลัวที่สุด ก็คือคุณจะไม่รู้ตัวเลยว่าคุณได้รับเชื้อ HPV เข้าไปในบริเวณปากมดลูกเรียบร้อยแล้ว เพราะในบางรายเชื้อ HPV จะใช้เวลาถึง 10 ปีในการก่อตัวเป็นมะเร็ง ส่วนกลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี เริ่มการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกภายใน 3 ปีหรือเริ่มตรวจเมื่ออายุครบ 21 ปี และควรทำการตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี กลุ่มอายุมากกว่า 30 ปี ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทางเซลล์วิทยา ,ทางเซลล์วิทยา ร่วมกับการตรวจหาเซลล์ผิดปกติ, ลิควิ-เพร็พ หรือการ ส่องกล้องตรวจความผิดปกติของปากมดลูก
มะเร็งต่อมลูกหมาก
ตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจคัดกรองด้วยการใช้นิ้วคลำทางทวาร และการตรวจหาสาร PSA ในเลือด ตรวจในผู้ชายอายุประมาณ 45 – 50 ปี
การตรวจคัดกรองเพื่อ หาความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเหล่านี้เป็นเรื่องที่สำคัญและเราควรจะใส่ใจเพิ่มมากขึ้นเพื่อทำการรักษาตั้งแต่ในระยะแรก จะเป็นการดีกว่าที่เราตรวจพบระยะสุดท้าย ซึ่งมีความเสี่ยงและมีความสูญเสียในเรื่องการรักษามากกว่าการที่เราป้องกันในตอนแรกอย่างแน่นอน ซึ่งในรายละเอียดการตรวจก็ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลแต่ละแห่งด้วย