นวัตกรรมเพื่อการรักษาสายตาและต้อกระจก

รักษาดวงตา แสงเข้าตา

เทคโนโลยีการแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีขึ้น และหนึ่งในนั้นคือ femtosecond laser (เฟมโตเซเคินเลเซอร์) ซึ่งถูกนำมาใช้ทดแทนการผ่าตัดด้วยใบมีดแบบดั้งเดิมทั้งในการรักษาสายตาด้วยวิธีเลสิกและการผ่าตัดต้อกระจก Femtosecond laser คืออะไร มีความโดดเด่นอย่างไรและจะให้ผลการรักษาที่ดีมากน้อยแค่ไหน พบคำตอบได้ใน Better Health ฉบับนี้

รู้จักกับ Femtosecond Laser
สำหรับการรักษาโรคทางสายตา femtosecond laser เป็นเครื่องเลเซอร์ที่ปลดปล่อยพลังงานเลเซอร์ในอัตราความเร็วสูงวัดเป็นหน่วยได้ 1 เฟมโตวินาทีหรือหนึ่งในพันล้านล้านของวินาที ซึ่งเป็นความเร็วที่เมื่อนำไปใช้แทนใบมีดในการแยกชั้นกระจกตาหรือเปิดแผลที่กระจกตา แสงเลเซอรจ์ะสามารถกำหนดเป้าหมาย ขนาดและรูปแบบที่ต้องการได้อย่างแมน่ยำ รวมทั้งสลายเนื้อเยื่อหรือสารอื่นๆ ในระดับโมเลกุลได้โดยไม่สร้างความเสียหายต่อเนื้อเยื่อโดยรอบและไม่เกิดความร้อนขณะยิง

Femtosecond laser ที่ใช้ในการผ่าตัดตาในปัจจุบัน ได้แก่ femtosecond LASIK สำหรับการรักษาภาวะสายตาผิดปกติด้วยวิธีเลสิกและ femtosecond laser-assisted cataract surgery สำหรับการผ่าตัดต้อกระจก

Femtosecond LASIK เลสิกไร้ใบมีด
การรกัษาสายตาด้วยวิธีเลสิกเป็นการแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติแต่กำเนิด ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตาเอียง หรือสายตายาว ซึ่งการทำเลสิกประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือ

ขั้นตอนแรก เป็นการแยกช้ันกระจกตาให้ได้ฝากระจกตาชั้นนอกลักษณะคล้ายบานพับ เพื่อที่จะเปิดออกไปด้านข้างให้เห็นเนื้อกระจกตาด้านล่าง รองรับการยิงเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (excimer laser) ซึ่งเป็นเลเซอร์เย็นที่มีความแม่นยำสูงในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่สอง จักษุแพทย์จะเปิดฝากระจกตาไปด้านข้าง แล้วใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ยิงลงไปบนเนื้อกระจกตาด้านล่างเพื่อปรับความโค้งของกระจกตา เป็นการแก้ไขค่าสายตาที่ผิดปกติ จากนั้นจึงปิดฝากระจกตา กลับเข้าที่ตามเดิมโดยไม่มีการเย็บ

แต่เดิมจักษุแพทยใช้ใบมีดหรือเครื่องไมโครเคอราโตม (microkeratome) ในขั้นตอนของการแยกชั้นกระจกตา แต่ในช่วงหลายปีหลังมานี้ได้เกิดเทคโนโลยีทางเลือกใหม่ขึ้นซึ่งก็คือ femtosecond laser เพื่อแยกชั้นกระจกตาโดยปราศจากใบมีดหรือที่เรียกว่า femtosecond LASIK โดยที่ขั้นตอนของการใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์แก้ไขความโค้งของกระจกตานั้นยังคงเหมือนเดิม

ลดภาวะแทรกซ้อนจากการแยกชั้นกระจกตา
คุณสมบัติของ femtosecond laser เมื่อเทียบกับการแยกช้ันกระจกตาแบบด้ังเดิมว่า แสงเลเซอร์สามารถแยกช้ันฝากระจกตาได้บางกว่าและฝาที่ได้จะมีความหนาสม่ำเสมอเท่ากันทั่วทั้งฝา ต่างจากฝากระจกตาที่ได้จากการใช้ใบมีด ซึ่งจะบางสุดตรงกลาง และหนาสุดบริเวณขอบ การแยกชั้นกระจกตาด้วยเลเซอร์จึงลดโอกาสเกิดฝาที่ไม่สมบูรณ์จากการใช้ใบมีด เช่น ฝาหนาไม่สม่ำเสมอหรือทะลุตรงกลาง นอกจากนั้นขอบฝาจากการใช้เลเซอร์จะมีลักษณะขอบตัดเรียบเป็นมุมเข้ากับเนื้อกระจกตาด้านล่างพอดี ฝากระจกตาจึงปิดกลับลงที่เดิมได้สนิท เป็นการลดโอกาสการเกิดฝากระจกตาย่น ไม่เข้าที่

“การแยกชั้นกระจกตาให้ได้ฝากระจกตาที่สมบูรณ์เป็นหัวใจของการทำเลสิก แพทย์ต้องมั่นใจว่าฝากระจกตาสามารถเปิดและปิดเข้าที่เดิมได้ ไม่บางไป เล็กไปหรือมีรอยขาด แพทย์จะไม่เปิดฝากระจกตาที่ไม่สมบูรณ์ เพราะถ้าเปิดแล้วปิดไม่สนิทจะทำให้ผู้ป่วยเห็นแสงกระจายตอนกลางคืนได้” พญ.ฐาริณีอธิบาย

อาจกล่าวได้ว่า femtosecond laser ช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของการทำเลสิก เนื่องจากฝากระจกตาที่สมบูรณ์จะทำให้กระบวนการผ่าตัดดำเนินต่อไปได้ เพราะหากฝากระจกตาขาด เป็นรู หรือไม่สมบูรณ์แพทย์จะต้องหยุดการผ่าตัดทันที ซึ่งกรณีเหล่านี้ถ้าเกิดกับการแยกฝากระจกตาด้วยใบมีด อาจทำให้เกิดแผลเป็นบริเวณกระจกตาและต้องรอประมาณ 3 เดือนเพื่อให้ แผลเป็นหายจึงจะเริ่มขั้นตอนการแยกชั้นกระจกตาใหม่ที่ความลึกกว่าเดิม

“การแยกชั้นกระจกตาด้วย femtosecond laser นอกจากจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและความสมบูรณ์ของฝากระจกตาเมื่อเทียบกับการใช้ใบมีดแล้ว ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการทำเลสิกในผู้ที่มีกระจกตาบางด้วย เพราะฝากระจกตาจากเครื่องเลเซอร์จะหนาประมาณ 100 ถึง 110 ไมครอน ซึ่งถ้าใช้ใบมีด ฝากระจกตาจะหนากว่าประมาณ 30 ไมครอน เมื่อคำนวณดู พบว่าบางรายไม่สามารถแยกช้ันกระจกตาด้วยใบมีดได้ เพราะเนื้อกระจกตาที่เหลืออยู่ด้านล่างซึ่งเป็นส่วนให้ความแข็งแรง หลังทำเลสิกเหลือน้อยเกินไป แต่ถ้าใช้เครื่องเลเซอร์แยกช้ันกระจกตาสามารถทำได้ เพราะฝาที่บางกว่าเนื้อกระจกตาด้านล่างจะเหลือมากกว่า”

นอกจากนี้ แพทย์พบว่า femtosecond laser ช่วยให้กระจกตาสมานตัวเร็ว ระยะพักฟื้นสั้นลง และยังลดอาการตาแห้งของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดได้อีกด้วย

การผ่าตัดต้อกระจกด้วย Femtosecond Laser-Assisted Cataract Surgery
การผ่าตัดต้อกระจกเป็นการผ่าตัดที่ทำกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก องค์การอนามัยโลกประมาณว่าในแต่ละปีมีผู้เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกมากถึง 19 ล้านคนทั่วโลกและจะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 32 ล้านคนในอีก 5 ปีข้างหน้าเนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น

ขั้นตอนการรักษาสายตาด้วยวิธีเลสิก

หยอดยาชา
แยกช้ันกระจกตาและพับฝา
ใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ปรับเปลี่ยนความโค้งของกระจกตา
พลิกฝากระจกตา กลับตำแหน่งเดิม

เมื่อใดที่ต้องผ่าต้อกระจก
“ดวงตาของคนเราก็เปรียบเสมือนกล้องถ่ายรูปที่มีเลนส์อยู่ด้านใน เมื่อใช้งานไปนานๆ เลนส์ก็เกิดการขุ่นมัว เมื่อขุ่นมากจนแสงเข้าไปที่จอรับภาพและสมองไม่ได้ก็จะทำให้มองเห็นไม่ชัด เป็นความเสื่อมตามวัยทที่หลีกเลี่ยงไม่ได้” นพ.เอกชัย ภาคสุวรรณ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาต้อกระจกเริ่มต้นอธิบาย

ต้อกระจกอาจเกิดได้จากการกระทบกระเทือนหรืออุบัติเหตุที่ดวงตารวมถึงเป็นความผิดปกติแต่กำเนิดได้เช่นกัน แต่ในกรณีทั่วไปแพทย์พบว่าอายุเฉลี่ยของผู้ที่ต้องลอกต้อกระจกอยู่ที่ประมาณ 70 ปี “เมื่อใดที่ตาเริ่มพร่ามัว เห็นภาพซ้อน มองสู้แสงไม่ได้ เห็นสีผิดเพี้ยน ค่าสายตาเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ แม้จะแก้ปัญหาด้วยแว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์แล้วก็ไม่ดีขึ้น ควรมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นต้อกระจกหรือไม่เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้ตาบอดหรือเกิดโรคต้อหินเฉียบพลันที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและสูญเสียสายตาได้”

เลเซอร์ช่วยการผ่าตัด
“เดิมการผ่าต้อกระจกต้องรอให้เลนส์ขุ่นมัวมากเสียก่อนเนื่องจากข้อจำกัดทางเทคโนโลยี แต่ปัจจุบันเราสามารถผ่าตัดเอาต้อกระจกออกได้ทุกระยะไม่ว่าจะเป็นมากหรือน้อยแล้วแต่ความต้องการของผู้ป่วยผู้ป่วย บางรายมาผ่าเพราะอ่านข้อความในโทรศัพท์มือถือไม่เห็นก็มี” นพ.เอกชัยเล่า

การผ่าตัดรักษาต้อกระจกด้วยวิธีดั้งเดิมนั้นแพทย์จะใช้ใบมีดเปิดแผลที่บริเวณขอบกระจกตาดำของผู้ป่วยแล้วสลายเลนส์แก้วตาที่แข็งให้ ละลายด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงก่อนจะดูดออกและใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไป แต่ล่าสุดแพทย์ได้นำเทคโนโลยีการผ่าตัดต้อกระจกโดยใช้ femtosecond laser มาทดแทนการใช้ใบมีดหรือที่เรียกว่า femtosecond laser-assisted cataract surgery เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของการรักษา

แม่นยำ บอบช้ำน้อย
นพ.เอกชัยให้ความเห็นเกี่ยวกับการเปิดแผลที่กระจกตาและเปิดถุง หุ้มเลนส์ตาด้วยแสงเลเซอร์ว่ามีความแม่นยำมากขึ้น การใส่เลนส์เทียมทำได้ในตำแหน่งที่เหมาะสม โอกาสเกิดสายตาเอียงลดลง ดวงตาบอบช้ำน้อยลง ผู้ป่วยจึงฟื้นตัวได้เร็ว นอกจากนี้ยังช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อหลังการผ่าตัดและให้ผลการรักษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกันท้ังหมด

“ผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ชัดร้อยละ 60-70 ในวันรุ่งขึ้นและจะค่อยๆ ดีขึ้นจนมองเห็นชัดเจนภายใน 3 เดือนโดยไม่มีโอกาสกลับมาเป็นต้อกระจกอีก”

การแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติด้วยวิธีเลสิกและผ่าตัดต้อกระจกด้วย femtosecond laserให้ผลที่น่าพึงพอใจในผู้ป่วยส่วนใหญ่ ปรึกษาจักษุแพทย์ก่อนการรักษาว่าเทคโนโลยีนี้เหมาะกับคุณหรือไม่

Femtosecond LASIK เหมาะกับ

ผู้ที่มีสายตาส้ัน สายตาเอียง หรือสายตายาวแต่กำเนิด
มีอายุ 20 ปีขึ้นไป และมีสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี (ค่าสายตาเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 0.5 diopter ใน 1 ปี)
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการแยกชั้นกระจกตาด้วยใบมีด เช่น ขนาดลูกตาเล็ก เนื่องจาก femtosecond laser ถูกออกแบบให้ใช้พื้นที่บนดวงตาน้อยกว่าการใช้ใบมีด หรือกระจกตาโก่งหรือแบนกว่าปกติ เพราะการทำงานของ femtosecond laser ไม่ขึ้นกับความโค้งของกระจกตา
ไม่มีโรคของกระจกตาและโรคตาที่รุนแรง เช่น จอประสาทตาเสื่อม ตาแห้งอย่างรุนแรง หรือโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ โรคเอสแอลอี เป็นต้น
ผู้ที่กลัวการผ่าตัดแบบเดิม ซึ่งขณะแยกช้ันกระจกตาจะมีเสียงดังจากมอเตอร์และมองไม่เห็นแสงไฟราว 20 วินาที ขณะที่ femtosecond laser ไม่มีเสียง ให้ความรู้สึกนุ่มนวล แรงที่สัมผัสตาจะน้อยกว่า ผู้ป่วยจึงรู้สึกสบายตากว่า

เลนส์แก้วตาเทียม เลือกได้
การผ่าตัดต้อกระจกสามารถแก้ไขความผิดปกติของสายตาไปพร้อมกันได้ด้วยการใส่เลนส์แก้วตาเทียมที่คำนวณค่าสายตาของผู้ป่วยไว้แล้วเข้าไปแทนเลนส์แก้วตาที่ดูดออก

ปัจจุบันเลนส์แก้วตาเทียมมีให้เลือกใช้ 4 ชนิด ได้แก่

Monovision Lens เป็นเลนส์ปกติ เหมาะกับผู้ที่ก่อนทำผ่าตัดต้อกระจก มีสายตาสั้น หรือสายตายาว ถ้าใส่เลนส์นี้จะสามารถมองเห็นในระยะไกล ได้ปกติ แต่อ่านหนังสือยังต้องใส่แว่น

Toric Lens เป็นเลนส์ที่เหมาะกับผู้ที่ก่อนทำผ่าตัดต้อกระจกมีค่าสายตาสั้นหรือสายตายาวและสายตาเอียงร่วมด้วย ถ้าใส่เลนส์นี้จะมองเห็นในระยะไกลได้ปกติ แต่อ่านหนังสือต้องใส่แว่น ราคาสูงกว่า monovision lensเล็กน้อย

Multifocal Lens เป็นเลนส์ที่แก้ไขความผิดปกติของสายตาได้ทั้งสายตาส้ัน สายตายาว และสายตายาวสูงอายุ Multifocal Toric Lens เป็นเลนส์ที่แก้ไขความผิดปกติของสายตา ไดทั้งสายตาสั้น สายตายาว และสายตายาวสูงอายุ รวมทั้งสามารถแก้ไขสายตาเอียงร่วมด้วย

ผ่าต้อกระจก ไม่น่ากังวลอย่างที่คิด

ผู้ป่วยสามารถเลือกดมยาสลบหรือหยอดยาชาเพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บและความกลัว
ใช้เวลาผ่าตัดเพียง 10-15 นาทีโดยประมาณ
หลังผ่าตัดแพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนพักจนกว่าจะฟื้นตัวดีและสามารถกลับบ้านได้ภายในวันนั้น
ผู้ป่วยยังต้องใส่ฝาครอบตาและมาพบแพทย์เพื่อเปิดตาในเช้าวันรุ่งขึ้น
สามารถผ่าตัด 2 ข้างพร้อมกันได้หากเป็นความต้องการของผู้ป่วย แต่แพทย์จะแนะนำให้ทำทีละข้าง เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ ถ้าต้องการทำสองข้างควรนอนพักที่โรงพยาบาลหนึ่งคืน
ผู้ป่วยที่เป็นนักกอล์ฟ สามารถเล่นกอล์ฟได้ตามปกติ 3 วันหลังการผ่าตัด

Facebook
Twitter
LinkedIn
Telegram
Pinterest
5/5