ส้ม ประโยชน์ต่อสุขภาพจะมีอะไรบ้างนอกจากความอร่อย ลองมาเจาะลึกสรรพคุณของส้มต่อร่างกายเรากัน
ผลไม้ที่มีให้กินทุกฤดูและราคาไม่แพงแถมยังอร่อย หลายคนก็นึกถึงส้มเป็นอันดับแรก ๆ และใช่ค่ะ ส้มเป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ มีไฟเบอร์สูง มีวิตามินซี และสรรพคุณของส้มยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะจริง ๆ ประโยชน์ของส้ม แล้วเขาก็เยอะตั้งแต่เนื้อไปยันเปลือกเชียวล่ะ
ประวัติของส้ม
ส้มเป็นผลไม้ที่มีการเพาะปลูกมาหลายพันปี โดยส้มที่อยู่ในตระกูลซิตรัสเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนของทวีปเอเชีย รวมไปถึงในหมู่เกาะมลายู ส่วนในไทยมีหลักฐานเป็นรายงานที่กล่าวถึงส้มชนิดต่าง ๆ คือ ส้มโอ ส้มแก้ว และมะกรูด โดยเป็นรายงานที่มีต้นฉบับเป็นภาษาฝรั่งเศส แปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2236สำหรับส้มเขียวหวานนั้น มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการเพาะเมล็ดและขยายพันธุ์ของส้มแก้ว หรือมีต้นกำเนิดจากพันธุ์ที่ชาวจีนนำเข้ามาปลูกในภาคกลางเมื่อประมาณร้อยกว่าปีมาแล้ว และนับจากนั้นก็มีการขยายพันธุ์ส้มเขียวหวานไปปลูกในภาคอื่น ๆ และที่เรียกส้มเขียวหวานเพราะเมื่อผลแก่จัดจะมีสีเขียว แต่เนื้อส้มข้างในมีรสหวานอร่อยนั่นเอง
คุณค่าทางโภชนาการของส้ม
ส้มเขียวหวานในปริมาณ 100 กรัม ให้คุณค่าทางสารอาหาร ดังนี้
– พลังงาน 56 กิโลแคลอรี
– น้ำ 86 กรัม
– โปรตีน 1.1 กรัม
– ไขมัน 0.1 กรัม
– คาร์โบไฮเดรต 12.6 กรัม
– ใยอาหาร 1.8 กรัม
– เถ้า 0.6 กรัม
– โซเดียม 3 มิลลิกรัม
– โพแทสเซียม 190 มิลลิกรัม
– แมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม
– แคลเซียม 21 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม
– เหล็ก 0.09 มิลลิกรัม
– สังกะสี 0.14 มิลลิกรัม
– เบต้าแคโรทีน 62 ไมโครกรัม
– วิตามินซี 20 มิลลิกรัม
– น้ำตาล 11 กรัม
ส้ม สรรพคุณไม่ไก่กา
คุณค่าทางสารอาหารของส้มก็มีไม่น้อยดังข้อมูลข้างต้น คราวนี้เรามาดูกันค่ะว่าสรรพคุณของส้มจะเจ๋งเบอร์ไหน
1. ผลไม้แก้ท้องผูก
ส้มเป็นหนึ่งในผลไม้แก้ท้องผูกได้ เพราะมีใยอาหารสูง ช่วยในระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย โดยกินส้ม 1 ผลใหญ่ก็จะได้ใยอาหาร 2.0 กรัมแล้วนะคะ
2. กระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย
ด้วยความที่ส้มพกวิตามินซีมาไม่น้อย จึงทำให้ส้มจัดเป็นผลไม้กระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยป้องกันอาการป่วยเบสิก ๆ ไปจนถึงอาการป่วยที่หนักหนาได้ เพราะเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดี เราก็จะป่วยยาก เชื้อโรคและไวรัสต่าง ๆ ก็มีโอกาสจู่โจมเราได้น้อยนั่นเอง
น้ำตาลฟรุกโตสในเนื้อส้มมีส่วนช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่พุ่งสูงหลังจากกินส้มเข้าไป อีกทั้งไฟเบอร์ในส้มยังช่วยให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกทาง จึงจัดว่าส้มเป็นผลไม้ช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดอีกชนิดหนึ่ง
5. ลดคอเลสเตอรอลในเลือด
ในเนื้อส้มเองก็ไม่มีคอเลสเตอรอล ขณะที่วิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระที่มีในเนื้อส้มก็ยังมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยสารต้านอนุมูลอิสระจะเข้าไปปกป้องหลอดเลือดไม่ให้อนุมูลอิสระเข้ามาเกาะและก่อให้เกิดไขมันพอกพูนไปเรื่อย ๆ จนก่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจ เป็นต้น
โพแทสเซียมในส้มคือส่วนสำคัญที่ช่วยให้หัวใจทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ในส้มยังมีวิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ดีต่อการทำงานของหัวใจ ช่วยให้หัวใจเต้นในจังหวะปกติ และช่วยในการไหลเวียนของเลือดให้เป็นไปอย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น7. ลดความเสี่ยงโรคนิ่วในไต
มีการศึกษาพบว่า น้ำส้ม มีส่วนช่วยลดการเกิดนิ่วในไต โดยโพแทสเซียมในส้มจะช่วยยับยั้งการเกิดนิ่วต่าง ๆ ในร่างกาย และช่วยให้นิ่วถูกขับถ่ายออกมาพร้อมของเสีย ลดความเสี่ยงโรคนิ่วในไตและนิ่วในอวัยวะอื่น ๆ ได้
การศึกษาในวารสาร American College of Nutrition พบว่า คนที่ร่างกายได้รับวิตามินซีสูงจะมีโอกาสเกิดแผลเปื่อยได้น้อยกว่าคนที่ร่างกายได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอต่อความต้องการ และส้มก็เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีมากถึง 89% ของปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวันเชียวนะคะ
9. ลดความเสี่ยงโรคสโตรก
10. ป้องกันมะเร็ง
ในเนื้อส้มมีสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟลาโวนอยด์ค่อนข้างสูง ซึ่งเจ้าสารตัวนี้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ อีกทั้งเนื้อส้มที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ก็ยังจะช่วยขับเอาของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ออกมา จึงช่วยลดโอกาสเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกทาง
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า สารซิตรัสในส้มสามารถต้านการเกิดมะเร็งช่องปาก มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งกระเพาะอาหารได้ด้วย
11. ลดความเสี่ยงโรคจอประสาทตาเสื่อม
12. ส้มช่วยบำรุงผิว
สารต้านอนุมูลอิสระผสานกับพลังแห่งวิตามินซีมีส่วนช่วยปกป้องเซลล์ผิวจากการถูกแสงแดดทำร้าย ปกป้องผิวจากมลพิษ ช่วยลดการเกิดริ้วรอย และช่วยบำรุงเซลล์ผิวให้แข็งแรง ทำให้ผิวดูกระชับตึงมากขึ้น เนื่องจากวิตามินซีเป็นสารตั้งต้นของคอลลาเจนนั่นเอง
– เลือกกินส้มแบบผลมากกว่าน้ำส้มซึ่งอาจมีส่วนผสมของน้ำตาลเพิ่มขึ้นมา และทำให้เราพลาดโอกาสในการได้รับกากใยอาหารอีกด้วย
– ผู้ป่วยเบาหวานควรจำกัดปริมาณการกินส้มไม่ให้มากจนเกินไป (ไม่เกิน 2 ผลต่อวัน) เพราะแม้ส้มจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่การกินส้มมากเกินไปก็อาจทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไปด้วยเช่นกัน
– ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงการรับประทานส้ม เพราะส้มเป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมค่อนข้างสูง อาจส่งผลให้อาการไตกำเริบได้
ไม่เพียงแต่เนื้อส้มและน้ำส้มเท่านั้นที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของเรา แต่อย่างที่บอกไว้ในตอนแรกนะคะว่าส้มมีประโยชน์ไปยันเปลือกเลย งั้นเรามาดูกันว่าประโยชน์ของเปลือกส้มมีอะไรบ้าง