วิธีแก้ไขโรคนอนไม่หลับ

นอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับเกิดจากอะไร? โรคนอนไม่หลับเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่พบบ่อยมีดังนี้

– โรคนอนไม่หลับเกิดจาก
1.สภาพแวดล้อมในการนอนเปลี่ยนแปลง (อุณหภูมิ,แสงสว่าง,เสียงรบกวน)
2.ความเครียดและความวิตกกังวลจากปัญหาชีวิต (สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก,การหย่าร้าง,ภาวะตกงาน)
3.ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน,นิโคติน,หรือแอลกอฮอล์มากเกินไป
4.การรับประทานยาบางชนิด (ยาโรคหัวใจและความดัน,ยาแก้แพ้,ยาเสตียรอยด์)
5.การนอนหลับไม่เป็นเวลา (การนอนหลับหรือตื่นนอนที่เร็วหรือช้าไม่เท่ากันในแต่ละวัน หรือเป็นแค่ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง)
6.ความคิดวิตกกังวลว่าตนเองจะนอนไม่หลับ
7.ความอ่อนเพลียจากการเดินทางโดยเครื่องบิน
8.ภาวะความเจ็บป่วยบางอย่างก็สามารถทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับได้เช่นกัน เช่น ปัญหาสุขภาพจิต (โรคซึมเศร้า,โรควิตกกังวล,โรคเครียดหลังประสบเหตุการณ์ร้ายแรง)
9.ความเจ็บปวดที่เกิดจากปัญหาสุขภาพ (ข้ออักเสบ,ภาวะช่องโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ)
10.ปัญหาทางระบบประสาท (โรคพาร์กินสัน,โรคอัลไซเมอร์)
11.โรคความผิดปกติในการนอนหลับอื่นๆ (ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ,กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข, ภาวะขากระตุกขณะนอนหลับ)

– ภาวะแทรกซ้อนของโรคนอนไม่หลับ
โรคนอนไม่หลับสามารถส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ทำให้อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย สับสน ไม่มีความสุขในการใช้ชีวิตประจำวัน และทำให้ประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหว การทรงตัว และความจำลดลง นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ จะพบได้มากกว่าในผู้ที่เป็นโรค เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เป็นโรค

– โรคนอนไม่หลับสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆได้ รวมทั้ง
1.โรคเบาหวาน
2.โรคอ้วน
3.โรคความดันโลหิตสูง
4.โรคซึมเศร้า
5.โรควิตกกังวล

– วิธีแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับ
1.จัดที่นอนให้เหมาะสม สบายเหมาะแก่การนอน เงียบสงบ อุณหภูมิที่เย็นสบายพอเหมาะ ไม่ควรเปิดโทรทัศน์ และหากต้องการให้ร่างกายพักผ่อนมากจริงๆ ให้ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด จะได้ไม่มีเสียงรบกวนขณะนอนหลับ
2.ผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน เช่น การนวดให้ร่างกายผ่อนคลาย การแช่น้ำอุ่น
3.หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน หรือการใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมในช่วงกลางวัน
4.เมื่อรู้สึกง่วงจะต้องเข้านอนทันที เข้านอนให้เวลานั้นเหมือนกันทุกคืน ตรงเวลา ร่างกายจะจดจำเวลานอนเอง
5.หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก หรืออาหารที่ย่อยยากก่อนนอน เพราะจะทำให้ปวดท้อง เนื่องจากมีอาการกรดไหลย้อน ถ้าท้องว่างให้รับประทานอาหารเบาๆ เช่น ขนมปังชิ้นเล็ก นมอุ่ม หรือน้ำผลไม้
6.หากนอนไม่หลับ ให้ไปทำกิจกรรมเบาๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือนั่งสมาธิ เมื่อรู้สึกง่วงให้เข้ามานอน
7.ก่อนนอนควรทำสมองให้โล่ง ปลอดโปร่ง ไม่นำเรื่องเครียด กดดัน ผิดหวัง หรือเสียใจมาคิด ทำจิตใจให้ผ่อนคลายก่อนนอน ใช้กลิ่นเข้ามาช่วยในการนอนหลับ เช่น กลิ่นวานิลลา กลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นยูคาลิปตัส กลิ่นพิมเสน หรือกลิ่นคาโมมายล์ ที่ช่วยทำให้ผ่อนคลาย บรรเทาความเครียด จิตใจสงบ ปลอดโปร่ง และผ่อนคลาย
8.หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ ชาที่มีคาเฟอีน หรือน้ำอัดลม เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ และลดประสิทธิภาพการนอนหลับ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ลง ถึงแม้ว่าจะช่วยในเรื่องการนอนหลับ หากมากไปอาจส่งผลต่อร่างกายได้
9.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน เพราะจะทำให้ร่างกายมีการตื่นตัว นอนไม่หลับ
10.ปรึกษาแพทย์หรือนักบำบัด อาจมีการแนะนำให้ใช้ยานอนหลับ ยาผ่อนคลาย ได้รับการปรึกษา หรือมีตารางการปฏิบัติมาให้ฝึกบำบัดการนอนหลับ
11.รับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง เช่น ปลาโอ ปลาเก๋า ปลากะพง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง อัลมอลต์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยอดฟักแม้ว ยอดฟักทอง และกล้วยสุก เพราะแมกนีเซียม ลดอาการซึมเศร้า และมีผลต่อกระบวนการควบคุมการนอนหลับ โดยเป็นตัวที่ช่วยในการสร้างสารเมลาโตนิน นอกจากนั้นอาหารที่มีโปรตีนและฟอสฟอรัสนั้นยังมีแมกนีเซียมด้วย เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วเมล็ดแห้ง ไข่ ผักใบเขียว และเนื้อสัตว์

ทั้งนี้หากเราอดนอน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียกับร่างกายทำให้ระบบร่างกายทำงานติดขัด จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูง และปัญหาด้านระบบหลอดเลือดหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกันทำงานโดยมีประสิทธิภาพลดลง หายจากโรคต่างๆ ได้ช้าลง มีผลต่อการเจริญเติบโต มีการซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอได้ลดลง ฟื้นตัวจากโรคได้ช้า ร่างกายมีภาวะอ่อนเพลีย ส่งผลต่อระบบเผาผลาญ ร่างกายต้องการอาหารมากขึ้น มีอาการป่วย เช่น คลื่นใส้ ปวดศีรษะ ท้องผูกหรือท้องเสีย กล้ามเนื้อทำงานได้ไม่เต็มที่ กล้ามเนื้อทำงานได้ลดลง หรืออ่อนแรง อ่อนเพลีย มีผลทางด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น โกรธง่าย มีอารมณ์แปรปรวน ไม่คงที่ ซึมเศร้า และมีอาการเฉื่อยชา ไม่อยากทำอะไรเลย เพราะฉะนั้นจึงต้องดูแลร่างกายให้ดี การพักผ่อนนอนหลับนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญ

ขอขอบคุณรูปภาพจาก : detsood.com

Facebook
Twitter
LinkedIn
Telegram
Pinterest
5/5
โรคยอดฮิตในผู้ชาย
สุขภาพ

โรคยอดฮิต ในผู้ชายยุคใหม่

โรคยอดฮิต ในผู้ชายยุคใหม่ หนุ่มๆเคยรู้บ้างไหมว่าโรคยอดฮิตในผู้ชายยุคใหม่มีอะไรบ้าง วันนี้จึงนำเสนอปัญหาสุขภาพ และโรคยอดฮิตของคุณผู้ชาย