สุขภาพดี ห่างไกลจากโรค วัณโรค

ดูแลสุขภาพ ปราศจากโรคภัย

สุขภาพดี ห่างไกลจากโรค วัณโรค

พูดถึงโรคที่ทำให้ทั้งผู้ที่เป็นโรคและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดมีความหวาดผวาระแวงและกังวลซึ่งกันและกันนั่นก็คือโรคติดต่อ แน่นอนว่า โรคประเภทนี้มันจะเป็นโรคซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นได้โดยง่ายแน่นอนว่าวันนี้เรากำลังพูดกันถึงโรควัณโรคอาการและการรักษา ซึ่งวัณโรคเกิดจากการติดเชื้อไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis) แพร่กระจายได้ทางอากาศโดยผ่านทางการไอ จาม การพูด และการหายใจ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดวัณโรคปอดแล้วยังส่งผลให้เกิดวัณโรคกับอวัยวะอื่นๆในร่างกายได้ด้วยเช่น วัณโรคต่อมน้ำเหลืองกระดูกสันหลังข้อลำไส้เยื่อหุ้มสมองเป็นต้น ซึ่งวัณโรคสามารถรักษาได้ด้วยการกินยารักษาวัณโรคอย่างต่อเนื่องก็มีโอกาสที่จะหายขาดได้

การติดต่อของเชื้อวัณโรค
โดยส่วนมากเชื้อวัณโรคจะเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจรับเอาเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ในละอองฝอยขณะที่มีผู้ไอจามหรือบ้วนน้ำลายรวมถึงขับเสมหะและใช้เสียงเชื้อโรคที่ตกลงสู่พื้นหรือติดอยู่กับผิวสัมผัสของวัตถุอื่นๆจะถูกทำลายไปได้โดยง่ายจากแสงสว่างและอากาศที่ถ่ายเทสะดวกดังนั้นถ้าหากใครต้องอยู่อาศัยกับผู้ป่วยวัณโรค ควรพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองผู้สัมผัสโรคและรักษาอาการตั้งแต่เนิ่นๆ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดวัณโรค
• สภาพร่างกายและความแข็งแรงหรือภูมิต้านทานของแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นวัณโรคได้ง่ายคือเด็กและผู้สูงอายุซึ่งค่อนข้างเป็นช่วงวัยที่บอบบางและภูมิคุ้มกันน้อย
• ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังเช่นโรคเบาหวานโรคพิษสุราเรื้อรังโรคเอดส์หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
• ระยะเวลาและความใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค

การวินิจฉัยวัณโรค

การวินิจฉัยด้วยตนเอง โดยการสังเกตุอาการ แต่ถ้าเป็นระยะแฝง จะไม่แสดงอาการ ดังนั้น หากสงสัย ว่าจะป่วยเป็นโรควัณโรคหรือไม่ ต้องไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัย โดยทั่วไป จะมีการเอกซเรย์ปอด , การตรวจเลือด , การตรวจเสมหะ, การตรวจน้ำไขสันหลัง, การตรวจทางผิวหนังเพื่อดูระดับภูมิคุ้มกัน รวมไปถึง การทำ CT Scan เพื่อดูความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย โดยเฉพาะหากสงสัยวัณโรคกระดูกสันหลัง ก็จะทำให้เห็นรอยโรคได้ แต่ที่สำคัญคือการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่จะสั่งตรวจ เพื่อให้ได้ความแม่นยำในการตรวจค้นหาโรควัณโรค ในร่างกาย

อาการทั่วไป ของผู้ป่วยวัณโรค จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ
 ระยะแฝง เป็นระยะที่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมาเลย เพราะเป็นช่วงที่เชื้อไม่ได้รับการกระตุ้น แต่เชื้อแบคทีเรียยังอยู่ในร่างกาย แต่ตรวจพบเชื้อได้
 ระยะแสดงอาการ เชื้อที่ได้รับการกระตุ้น จะส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ชัดเจน อาทิเช่น มีอาการไอเรื้อรัง นานเกินกว่า 3 สัปดาห์ และอาจจะมีอาการ ไอเป็นเลือดออกร่วมด้วย เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจหรือไอ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว มีไข้เรื้อรังต่ำๆ มักจะเป็นตอนเย็น หรือบ่าย หนาวสั่น มีอาการเหงื่อออกในเวลากลางคืน

แนวทางการรักษา
วัณโรคสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการใช้ยา อย่างต่อเนื่อง ในระยะเวลาที่กำหนด ควบคู่กับการดุแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ยาที่แพทย์นิยมใช้ในการรักษา ได้แก่ ไอโซไนอาซิด (Isoniazid) ไรแฟมพิซิน (Rifampicin) อีแทมบูทอล (Ethambutol) ไพราซินาไมด์ (Pyrazinamide) แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการดื้อยา ก็อาจจะต้องใช้ยาตัวอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อให้การรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) และยาลีโวฟลอกซาซิน (Levofloxacin) เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา การรักษา ทุกๆ 2 เดือนในระยะเวลา 6 เดือน โดยปรับเปลี่ยนการรักษาไปตามอาการแต่ละบุคคล ในช่วงนี้เราจึงต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า จะรักษาจนหายขาด ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะกลับไปเป็นซ้ำได้เช่นกันถ้าหากรับประทานยาไม่ครบตามกำหนดไว้ ดังนั้นเป้าหมายที่สำคัญในการรักษา คือการรักษาให้หายขาดเพื่อหยุดการแพร่กระจายเชื้อ และการป้องกันการดื้อยาของเชื้อวัณโรค รวมไปถึง ป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจจะส่งผลต่อสุขภาพได้ ที่สำคัญ ยารักษาวัณโรค จะมีผลข้างเคียงที่รุนแรงต่อสุขภาพ และมีผลกระทบต่อตับ รวมไปถึง ผลข้างเคียงของยาร่วมด้วย ดังนั้น การรักษาวัณโรค จึงต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ อย่างเคร่งครัด ที่สำคัญ ผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพตนเองให้ดีร่วมด้วย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้สดใสร่าเริง และมีความสุข จิตใจดี สุขภาพดี ก็จะส่งผลให้ภูมิต้านทานดีขึ้นด้วย

Facebook
Twitter
LinkedIn
Telegram
Pinterest
5/5