สุขภาพ กับโรคไต ทางเลือกของการมีสุขภาพดีที่ไม่ป่วยด้วยโรคไต

ดูแลรักษาห่างไกลโรคไต

สุขภาพดี ต้องห่างไกลจากโรคไต

หากมองย้อนกลับไปในสมัยก่อน โรคไตเป็นโรคที่แทบจะไม่มีใครพูดถึงเพราะจำนวนคนเป็นไม่มากแต่ในปัจจุบันนี้ คนไทยส่วนใหญ่เป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาโดยสมาคมโรคไตพบว่า คนไทยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นจำนวนหลักล้านคนแต่มีผู้ที่ฟอกไตจริงๆปัจจุบันเพียงไม่ถึงแสนคนเท่านั้น เมื่อเราทราบข้อมูลนี้ เราจึงรู้ได้ทันทีว่า เรื่องของโรคไตไม่ใช่เรื่องเล่นๆและไม่ใช่เรื่องที่ไม่น่าสนใจอีกต่อไปตรงกันข้ามถ้าหากเป็นโรคนี้เมื่อไหร่เงินทองที่คุณหามาได้ จะหมดไปกับค่ารักษาและค่าฟอกไตเป็นจำนวนมากเลยล่ะ และถ้าหากวันนี้ ใครกำลังสงสัยว่า โรคไต อาการและการรักษาเป็นอย่างไรเราจะพาคุณไปดูข้อมูลเพิ่มเติม

สาเหตุการเกิดโรคไต เกิดจากผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานที่เป็นมาระยะเวลานาน รวมไปถึงผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง ก็ส่งผลต่อการเป็นโรคไตได้ รวมไปถึงภาวะไตอักเสบเรื้อรัง และมีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะเช่นนิ่วในไต และท้ายที่สุด คือกลุ่มคนที่นิยมซื้อยามารับประทานกันเองเช่นยาแก้ปวดหรือยาสมุนไพรต่างๆ ก็ส่งผลให้เป็นโรคไต ได้ง่ายขึ้น

หน้าที่ของไต
หน้าที่และการทำงานของไตมี 3 อย่างคือ
• ขับของเสียโดยที่ไปจะทำหน้าที่ขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายดังนั้นถ้าหากไปทำงานไม่ปกติจะขับน้ำไม่ได้และจะทำให้เกิดอาการบวมตามตัว
• ไตมีหน้าที่ในการดูแลสมดุลของเกลือแร่ประเภทกรดต่างๆ ซึ่งหากไตทำงานไม่ได้ทำให้กรดต่างๆไม่สมดุลจะก่อให้เกิดภาวะผิดปกติในร่างกาย
• การทำหน้าที่สังเคราะห์ฮอร์โมนวิตามินต่างๆและสร้างฮอร์โมนที่กระตุ้นเม็ดเลือดออกวิตามินดีถ้าหากไตเสื่อมการทำงานอาจจะมีอาการเลือดจางและมีภาวะขาดวิตามิน

โรคไตซึ่งถือว่าเป็นโรค เหลือรังซึ่งถือว่าเป็นภัยเงียบโดยในช่วงแรกจะไม่มีอาการแสดงให้เห็นชัดเจนผู้ที่เป็นโรคไตจึงยังคงสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ส่วนมากผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการ ผิดปกติมากแล้ว ดังนี้

• อาการบวมตามตัว โดยเฉพาะบริเวณขาหรือเท้าและหนังตาซึ่งโดยปกติแล้ว หากไม่เคยบวมแล้วบวมขึ้นมาก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสงสัย
• ปัสสาวะผิดปกติ เช่นเวลาที่ราดน้ำหรือกดชักโครกแล้วเกิดมีฟองยิงถ้าหากเป็นฟองเยอะหรือฟองหลายชั้นแสดงว่ามีเป็นอาการผิดปกติหรือเราจะสังเกตสีของปัสสาวะที่ผิดปกติเช่นมีสีน้ำล้างเนื้อสีแดงจางๆ รวมทั้งอาการเข้าห้องน้ำบ่อยๆระหว่างวันและตอนนอน อาจจะเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเราควรหมั่นเช็คอาการเหล่านี้ให้ดี
• อาการอ่อนเพลียเบื่ออาหารทานได้น้อยและคลื่นไส้อาเจียน

ระยะของโรคไต แบ่งออกเป็น 4 ระยะ
ระยะที่ 1 ไตเริ่มเสื่อม (พบว่ามีโปรตีนในปัสสาวะ) ค่า GFR 90 หรือมากกว่า
ระยะที่ 2 ไตเสื่อมแล้ว ค่า GFR ประมาณ 60 – 89
ระยะที่ 3 ไตเสื่อมปานกลาง ค่า GFR ประมาณ 30 – 59
ระยะที่ 4 ไตเสื่อมมาก ค่า GFR ประมาณ 15 – 29
ระยะที่ 5 ไตวาย ค่า GFR น้อยกว่า 15

ข้อแนะนำ ในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคไต
1. ต้องควบคุมการรับประทาน เกลือโซเดียม ไม่ควรทานเกิน 1 ช้อนชาต่อวัน (แนะนำให้ไปใช้เกลือโพแทสเซียมแทน)
2.ต้องหลีกเลี่ยง อาหารที่มีคลอเสลเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์
3.ต้องเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน และมัน
4. ต้องงดสูบบุหรี่
5. ดื่มน้ำให้พอเพียง วันละ 8 แก้ว และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
6. ต้องไปพบแพทย์เป็นประจำ และตรวจสุขภาพไตอย่างต่อเนื่อง หรือตามแพทย์นัด

การรักษาโรคไตเรื้อรัง 3 วิธี
1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ฟอกเลือดครั้งละ 4 -5 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 -3 ครั้ง ต้องทำที่โรงพยาบาลหรือศูนย์ไตเทียม โดยมีพยาบาลและเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟอกเลือดเป็นผู้ดูแล
2. การฟอกเลือดทางช่องท้อง ผู้ป่วยสามารถทำเองได้ที่บ้านโดยเปลี่ยนถ่ายน้ำยาวันละ 4-5 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 นาที และควรมาพบแพทย์เป็นระยะตามความเหมาะสม เช่น 1-2 เดือนต่อครั้ง
3.การผ่าตัดปลูกถ่ายไตโดยได้รับบริจาคไตจากผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตาย หรือผู้ที่มีชีวิตอยู่

Facebook
Twitter
LinkedIn
Telegram
Pinterest
5/5