อั้นฉี่บ่อยๆ ระวัง “กระเพาะปัสสาวะอักเสบ”

ชอบอั้นฉี่ระวังเสี่ยงกระเพราะปัสสาวะอักเสบ

ระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นโรคที่เกิดจากกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อแบคทีเรีย พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบมากในช่วงอายุ 20-50 ปี สาเหตุที่พบโรคนี้ในผู้หญิงมากกว่าชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชาย เชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะ จึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า

ประกอบกับปากท่อปัสสาวะของผู้หญิงยังเปิดออกสู่ภายนอกในบริเวณใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก จึงมีโอกาสติดเชื้อทั้งจากช่องคลอดและจากทวารหนักได้ เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของกระเพาะปัสสาวะอักเสบมีหลายชนิด ประมาณ 75-95% เกิดจากเชื้ออีโคไล มีทั้งจากการอักเสบเฉียบพลัน รักษาหายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ หรือจากการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งมักมีอาการอักเสบเป็นๆหายๆเรื้อรัง มีอาการรุนแรงน้อยกว่าการอักเสบเฉียบพลัน

กลุ่มเสี่ยงหรือปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ ผู้ที่กลั้นปัสสาวะนาน ส่งผลให้ปัสสาวะแช่ค้าง เชื้อโรคในปัสสาวะจึงเจริญเติบโตได้ดี ผู้สูงอายุ เพราะสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดี โดยเฉพาะผู้ที่ขาดคนดูแล และไม่ค่อยเคลื่อนไหว มักนั่งๆ นอนๆ ผู้ที่ดื่มน้ำน้อย ส่งผลให้ไม่ค่อยได้ปัสสาวะ ปัสสาวะจึงแช่ค้าง เชื้อโรคในปัสสาวะจึงเจริญได้ดี อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือ ปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อยๆ ปวด เบ่ง แสบ โดยเฉพาะตอนสุดปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นเลือด อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า คือ ปัสสาวะสีชมพู หรือเป็นเลือด หรือตรวจพบเม็ดเลือดแดงได้จากการตรวจปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่นหรืออาจเป็นหนองขึ้นกับความรุนแรงของโรค มีกลิ่นผิดปกติปวดท้องน้อยมีไข้ มีได้ทั้งไข้สูงและไข้ต่ำ แต่มักไม่มีไข้เมื่อเป็นการอักเสบเรื้อรัง บางครั้งอาจมีสารคัดหลั่งบริเวณอวัยวะเพศร่วมด้วย เมื่อเกิดจากติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจมีคลื่นไส้อาเจียนได้ เมื่อเป็นการติดเชื้อเฉียบพลัน อาจมีนิ่วปนออกมาในปัสสาวะ เมื่อเกิดร่วมกับนิ่วในไต หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

“ผลข้างเคียงจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือ การลุกลามเป็นการอักเสบของไต ซึ่งเมื่อเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดโรคไตเรื้อรังได้ หรือเมื่อการอักเสบติดเชื้อรุนแรง อาจลุกลามเป็นการอักเสบติดเชื้อในกระแสโลหิต ซึ่งทั้งสองกรณีเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนแนวทางการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ได้แก่ การให้ยาปฏิชีวนะ การรักษาสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยง เช่น รักษาโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ และการรักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวดชนิดคลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ และการดื่มน้ำมากๆ วันละอย่างน้อย 8-10 แก้วเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม เช่น โรคหัวใจล้มเหลว

หากใครมีอาการปวดท้องน้อยบ่อยๆ และรู้ตัวว่าดื่มน้ำน้อย หรือปัสสาวะผิดปกติ อย่าลืมปรึกษาคุณหมอโดยด่วน ก่อนที่จะมีอาการหนักไปมากกว่าเดิม เพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีนะคะ

ขอขอบคุณรูปภาพจาก : สุขภาพ

Facebook
Twitter
LinkedIn
Telegram
Pinterest
5/5
โรคร้าย
สุขภาพ

โรคร้ายแรงที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต ในยุค 2019 ปัญหา สุขภาพ มีโรคอะไรบ้าง

โรคร้ายแรงที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต ในยุค 2019 ปัญหา สุขภาพ มีโรคอะไรบ้าง ที่เป็นปัญหาในยุคนี้ และมีแนวโน้มที่คนไทยจะป่วยกันมากขึ้น