เลสิค เป็นวิธีการผ่าตัดรักษาภาวะสายตาผิดปกติ (สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด สายตาเอียง และสายตายาวตามอายุ) แบบถาวร โดยใช้ เครื่องแยกชั้นกระจกตา Microkeratome แยกชั้นกระจกตาให้มีความหนาประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของกระจกตาทั้งหมดแล้วใช้ Excimer Laser ขัดเนื้อกระจกตาชั้นกลาง เพื่อเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาโดยรวมแล้วจึงปิดผิวกระจกตาเข้าที่เดิม
การเลือกเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดเรามีเครื่องเลเซอร์ให้เลือกตามความเหมาะสมกับผู้รับการรักษาแต่ละท่าน เพื่อให้ผลการรักษาที่ดีที่สุด ปัจจุบันเทคโนโลยีในการรักษาสายตาด้วยวิธี LASIK / PRK ได้รับการพัฒนาให้ก้าวล้ำนำหน้า เพิ่มโอกาสการมองเห็นที่ดียิ่งขึ้น จึงคัดสรรหลากหลายเทคโนโลยี มาให้เลือกตามความเหมาะสมกับดวงตาของคนไข้แต่ละท่าน
สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด และสายตาเอียง ถือเป็น “ความเพี้ยนของการรวมแสงระดับต่ำ” นอกเหนือจากนี้ ดวงตาของเรายังมี “ความเพี้ยนของการรวมแสงระดับสูง” ซึ่งไม่สามารถแก้ไขด้วยแว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ ความเพี้ยนของการรวมแสง ระดับสูงนี้มักก่อให้เกิดการเห็น แสงกระจาย (Glare) หรือ มีรัศมีรอบดวงไฟ (Halo) ซึ่งเป็นปัญหาการมองเห็นในเวลากลางคืนและส่งผลให้ความชัดเจนในการมองเห็นด้อยลงได้
หน้าแรก/ ประเภทการตรวจและการรักษา / ประเภทการผ่าตัด /LASIK เลสิค รักษาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง
เลสิค มีประวัติความเป็นมาเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 Dr. Barraquer เป็นผู้แรกที่คิดค้นเครื่องมือแยกชั้นกระจกตาเพื่อรักษาภาวะสายตาสั้น และสายตายาว โดยการทำผ่าตัดแยกชั้นกระจกตา นำชั้นกระจกตาที่แยกได้ไปฝน แล้วนำมาเย็บกลับเข้าที่เดิม เป็นการผ่าตัดที่เรียกว่า Keratomileusis ซึ่งในขณะนั้น เครื่องมือมีความซับซ้อนมาก ผลการรักษาก็ยังไม่แม่นยำเท่าที่ควร สำหรับในประเทศไทย ทีมจักษุแพทย์ของ TRSC International LASIK Center เป็นกลุ่มผู้บุกเบิกการผ่าตัดด้วยวิธีเลสิค ในประเทศไทย นำโดย นายแพทย์ เอกเทศ ชันซื่อ ซึ่งเป็นจักษุแพทย์ไทยคนแรกที่ทำการรักษาด้วยวิธีเลสิค เริ่มทำการรักษาวิธีเลสิคครั้งแรกที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ในปี พ.ศ. 2537
การเตรียมตัวก่อนมารับการรักษาเลสิค
หากท่านคิดว่าเลสิค อาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดการพึ่งพาแว่นสายตา หรือคอนแทคเลนส์ของท่าน TRSC ขอแนะนำให้ท่านเข้ารับการตรวจประเมินสภาพตาโดยละเอียดเพื่อรักษาเลสิค ซึ่งมีความสำคัญ สองประการ คือ ประการแรก เพื่อพิจารณาว่าท่านเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการรักษาเลสิค หรือไม่ ประการที่สอง เพื่อพิจารณาว่าดวงตาของท่านมีสุขภาพตาสมบูรณ์ มีโรคใดๆ หรือไม่ ทั้งนี้ก่อนทำการรักษาเลสิค สำหรับท่านที่ใส่คอนแทนเลนส์ ควรงดใส่คอนแทคเลนส์อย่างน้อย 3 วันก่อนตรวจ สำหรับท่านที่ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง (Hard Lens) หรือชนิดกึ่งแข็งกึ่งนิ่ม (Semi Hard Lens) ควรงดใส่คอนแทคเลนส์อย่างน้อย 14 วันก่อนตรวจ ทั้งนี้ คนไข้สามารถใช้แว่นสายตาแทนในระหว่างที่ไม่ได้ใส่คอนแทคเลนส์ รายละเอียดการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเลสิค
Wavefront สามารถตรวจจับความเพี้ยนของการรวมแสงทั้ง 2 ระดับ ออกมาได้และสร้างรูปแบบการรักษาเฉพาะดวงตาดวงนั้นออกมา เชื่อมโยงโดยตรง กับเครื่องเลเซอร์ และสั่งให้เครื่องเลเซอร์รักษาไปตามนั้นได้ ซึ่งนอกจากทำให้ได้ค่าสายตาปกติแล้ว ยังช่วยคงสภาพความโค้งของกระจกตาให้ใกล้เคียงธรรมชาติโดยมีข้อมูล จากการวัด Wavefront เป็นแนวทางในการรักษา
นอกจากนี้ ด้วยความเร็วในการยิงเลเซอร์ที่สูงกว่าของ Ultimate LASIK การรักษาจึงรวดเร็ว ช่วยให้คนไข้สบายขึ้น ลดความเครียดขณะรับการรักษา และประการสำคัญ ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง แม่นยำมากกว่า Ultimate LASIK ผสมผสานข้อดีของระบบ Optimization และ Wavefront เข้าไว้ด้วยกัน จึงช่วยเพิ่มโอกาสที่จะมีคุณภาพการมองเห็นที่ยอดเยี่ยมในระดับที่เหนือกว่ามาตรฐาน
เป็นเทคโนโลยีที่ใช้รักษาภาวะสายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด และสายตาเอียง โดยใช้เลเซอร์ที่ใช้สูตรการคำนวณการยิงเลเซอร์ในลักษณะพิเศษ เรียกว่าระบบ Optimization ซึ่งจะช่วยคงรูปร่างกระจกตาของคนไข้ให้ใกล้เคียงธรรมชาติภายหลังการรักษา ระหว่างผ่าตัด จักษุแพทย์ผู้ทำผ่าตัดจะปรับเปลี่ยนรูปร่างกระจกตาให้เป็นไปตามธรรมชาติ ทั้งความหนา และค่าสายตาคนไข้แต่ละท่าน Optimum LASIK สามารถรักษาความเป็นธรรมชาติของรูปร่างกระจกตาดังกล่าวข้างต้น ทำให้คุณภาพการมองเห็นดีกว่าการรักษาทั่วไป นอกจากนั้น ยังช่วยลดปัญหาการเกิดแสงกระจายหลังการรักษาได้ดีอีกด้วย
ข้อดีของการรักษาด้วยวิธี เลสิค
เลสิค เป็นการรักษาภาวะสายตาผิดปกติอย่างถาวร ใช้เวลาในการผ่าตัดและการพักฟื้นสั้น แผลหายเร็ว สามารถมองเห็นได้ทันทีหลังการผ่าตัด แต่อาจจะยังไม่คมชัดเต็มที่ในวันแรก ไม่ต้องฉีดยาชา เพียงแต่ใช้ยาชาหยอดตา และไม่มีการเย็บแผล และสามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังการผ่าตัด
ขอบขอบคุณรูปภาพจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ