ALIF (Anterior Lumbar Interbody Fusion) การผ่าตัดเสริมหมอนรองกระดูกจากทางด้านหน้าแบบแผลเล็ก เป็นการผ่าตัดวิธีหนึ่งที่มีอัตราการประสบความสำเร็จสูง โดยการเข้าหาบริเวณหมอนรองกระดูกที่มีปัญหาทางด้านหน้า และหลีกเลี่ยงการทำลายกล้ามเนื้อหลัง สามารถใช้แก้ไขปัญหากระดูกสันหลังหลายประเภทได้ผลดี อาทิ ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ภาวะล้มเหลวจากการผ่าตัดกระดูกสันหลังในอดีต ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมปวดหลังเรื้อรัง การผ่าตัดชนิดนี้มีอัตราการประสบความสำเร็จสูง และเป็นที่นิยมกันในต่างประเทศ
ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมและความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังทำให้เกิดอาการปวดบริเวณหลัง บั้นท้าย ขาหนีบ และสะโพกได้ การผ่าตัดด้วยวิธี ALIF นี้จะช่วยเสริมข้อกระดูกสันหลังให้มั่นคงโดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อประสาทรอบๆ โดยมีผลสำเร็จของอัตราการเชื่อมข้อกระดูกสูง จึงช่วยบรรเทาอาการปวดหลังและอาการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้
เทคโนโลยี ALIF เป็นวิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็กสำหรับรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังที่มีสาเหตุจากหมอนรองกระดูก ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการผ่าตัดเข้าทางด้านหน้าเพื่อดามเหล็กเชื่อมข้อกระดูกโดยไม่รบกวนหรือทำลายกล้ามเนื้อ เส้นประสาท และเส้นเลือด ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังและปวดขาเพิ่มมากขึ้น
-ขั้นตอนของการรักษาด้วยวิธี ALIF
หลังจากผู้ป่วยหลับ ศัลยแพทย์จะทำการเปิดแผลเล็กๆ บริเวณหน้าท้อง คล้ายกับการผ่าตัดทำคลอด จากนั้นจึงทำการตัดหมอนรองกระดูกส่วนที่เสื่อมออก แล้วทำการยึดกระดูกเข้ากับกระดูกเทียมโดยการใช้สกรู กระดูกเทียมที่ใส่เข้าไปจะช่วยแก้ไขโพรงประสาทที่ตีบแคบ และช่วยแก้ไขการทรุดตัวของกระดูกสันหลังไปพร้อมกันด้วย การผ่าตัดทั้งหมดนี้ใช้เวลาราว 2-3 ชั่วโมง สำหรับการผ่าตัด 1-2 ระดับ
-ข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยวิธี ALIF
1.อาการปวดหลังที่มีสาเหตุมาจากหมอนรองกระดูก (ระดับเดียวหรือหลายระดับ รวมถึงกระดูกสันหลังช่วง L5/S1)
2.กระดูกสันหลังเคลื่อน
3.ความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลัง
4.โรคกระดูกสันหลังเสื่อม
5.ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม
6.ผู้ที่เคยได้รับการรักษาภาวะกระดูกไม่ติดด้วยวิธีการเชื่อมข้อกระดูกสันหลังแบบผ่าตัดจากทางด้านหลังแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น
7.ใช้ร่วมกับการผ่าตัดจากทางด้านหลังเพื่อเพิ่มผลของการเชื่อมกระดูก
8.ภาวะกระดูกสันหลังผิดรูป
-ทางเลือกในการรักษา
1.การรักษาแบบประคับประคอง
2.การลดน้ำหนัก
3.การรับประทานยา
4.การออกกำลังกายบริเวณส่วนหลัง
5.การทำกายภาพบำบัดและการฟื้นฟูสมรรถภาพ
6.การบำบัดด้วยความร้อนและความเย็น
7.การฝังเข็ม
8.การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์
9.การใช้อุปกรณ์ดึงหลัง
10.การรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัด
11.การฉีดสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง
13.การรักษาโดยใช้คลื่นความร้อน
14.การฉีดยาเข้าข้อต่อกระดูกสันหลัง
15.การรักษาโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ
-ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
การรักษาด้วยวิธี ALIF อาจมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับการผ่าตัดทั่วไป อาทิ มีเลือดออก รากประสาทถูกทำลาย ส่งผลให้เกิดอาการปวดขา อ่อนแรง หรือมีอาการผิดปกติของการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ เกิดภาวะการหลั่งน้ำอสุจิย้อนทาง/ภาวะมีบุตรยากในเพศชาย แผลติดเชื้อ อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากเครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัด มีลิ่มเลือดอุดตันที่ขาและอาจมีลิ่มเลือดอุดตันบริเวณปอด
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : Spine-Health