“โรคซึมเศร้า” โรคทางอารมณ์

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า (Depression) คือ ความผิดปกติทางอารมณ์ ที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรม ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอาการ เช่น เศร้า เสียใจ หมดสนุกกับกิจกรรมที่เคยโปรดปราน น้ำหนักขึ้นๆ ลงๆ นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป เหนื่อยล้า หมดพลัง หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นคิดสั้นฆ่าตัวตาย โรคซึมเศร้าสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้อีกมากมาย ทั้งยังส่งผลกระทบกับชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้ด้วย

 

อาการ ปวดเรื้อรังกับโรคซึมเศร้า เกี่ยวข้องกันอย่างไร

จากการศึกษาพบว่า 30-50% ของผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรัง จะมีความปกติทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวลร่วมด้วย อาการปวดเรื้อรังเป็นอาการที่เกิดขึ้นยาวนาน ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ และอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ปัญหาการนอน ความเครียด ปัญหาด้านการกิน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ล้วนแต่นำไปสู่โรคซึมเศร้าได้ทั้งสิ้น นอกจากอาการปวดเรื้อรังจะส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้าแล้ว โรคซึมเศร้าก็สามารถส่งผลให้ปวดเรื้อรังได้เช่นกัน ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักมีอาการทางกายที่ไม่ทราบสาเหตุ เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง ซึ่งหากเป็นบ่อย ๆ หรือมีอาการยาวนาน อาการปวดเหล่านั้นก็สามารถกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังได้

 

วิธีสังเกตว่า คนนั้นๆ ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ ด้วยการลองประเมินจาก 9 สัญญาณเตือนเหล่านี้ ถ้าพบว่ามีอาการ 5 ใน 9 อย่างนี้นาน 2 สัปดาห์ติดต่อกัน ก็ควรรีบไปพบแพทย์

  1. มีอารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว
  2. ขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง
  3. ไม่ค่อยมีสมาธิเวลาทำสิ่งต่างๆ
  4. รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา
  5. ทำอะไรก็เชื่องช้าตลอด
  6. ถ้าไม่รับประทานอาหารมากขึ้น ก็รับประทานน้อยลง
  7. นอนมากขึ้น หรือนอนน้อยลง
  8. มีอะไรพลาด ตำหนิตัวเองเป็นอันดับแรก
  9. พยายามฆ่าตัวตาย

ที่น่ากลัวคือโรคนี้เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย และผู้หญิงมักเป็นมากกว่าผู้ชาย และมักแสดงอาการของโรคครั้งแรกช่วงอายุ 25-35 ปี จากการศึกษาพบว่าประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ หรือราว 3-4 ล้านคนของจำนวนประชากร มีทุกข์เพราะโรคซึมเศร้า แต่มีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยยา จิตบำบัด และสังคมบำบัด

 

วิธีรับมือกับทั้งสองอาการ

ทั้งความปวดเรื้อรังและโรคซึมเศร้า ต่างก็เป็นอาการเจ็บป่วยที่รักษาให้หายขาดได้ยากทั้งคู่ แต่สามารถบรรเทาและทำให้อาการดีขึ้นได้ โดยผู้ให้บริการด้านสุขภาพมักจะใช้วิธีรักษาเหล่านี้ร่วมกัน

  • การใช้ยาต้านซึมเศร้า (antidepressants) ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาได้ทั้งอาการปวดเรื้อรังและโรคซึมเศร้า
  • บำบัดด้วยการพูดคุย หรือที่เรียกว่า จิตบำบัด (psychotherapy) อาจช่วยให้เปลี่ยนวิธีคิด เรียนรู้เทคนิคการแก้ปัญหาเมื่อเกิดอาการ และช่วยป้องกันอาการโรคซึมเศร้าในอนาคต
  • ใช้เทคนิคลดความเครียด เช่น เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ ออกกำลังกาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ นั่งสมาธิ คิดบวก เขียนบันทึกประจำวัน โดยคุณสามารถปรึกษานักบำบัดเพื่อให้ช่วยแนะนำกิจกรรมที่เหมาะสมกับคุณได้

โรคซึมเศร้า โปรดอย่าลังเลที่จะแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบ เพื่อที่แพทย์จะได้ให้คำแนะนำและรักษาได้อย่างถูกวิธีและทันท่วงที

ขอขอบคุณรูปจาก : เว็บไซต์ Promotions.co.th

Facebook
Twitter
LinkedIn
Telegram
Pinterest
5/5
ดูแลผิวพรรณ ดูแลรักษา
สุขภาพ

เทคนิคดูแลผิวพรรณให้สวยใสน่ามอง สุขภาพดี

เทคนิคดูแลผิวพรรณให้สวยใสน่ามอง สุขภาพดี ดูมีออร่ากันทั้งนั้นใช่มั้ยคะ วันนี้เรามีเทคนิคดีๆ ที่จะอยากแนะนำให้สาวๆ ลองทำตามดูค่ะ