โรคมือเท้าปาก…ภัยร้ายในเด็กเล็กที่ต้องเฝ้าระวัง

โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือเท้าปาก สายพันธุ์เอนเทอโรไวรัส (EV) 71 โรคฮิตในเด็กเล็กที่มีอายุ 1-5 ขวบ และระบาดในช่วงฤดูฝน ส่วนสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงเกิดขึ้นได้อย่างไร วันนี้เรามีเกร็ดความรู้จากนิตยสาร MODERNMOM และวิธีสังเกตอาการโรคมือเท้าปากในเด็กเล็ก มาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ …

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ  โรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปากในสถานรับเลี้ยงเด็ก และโรงเรียนมักสร้างความตื่นตระหนกให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูและสังคม เมื่อพบผู้ป่วยโรคมือเท้าปากในสถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียน โดยเฉพาะเมื่อมีการระบาดถึงขั้นต้องสั่งปิดสถานที่ดังกล่าวชั่วคราว ความตื่นตระหนกเพิ่มมากขึ้นอีก เมื่อมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ EV 71 เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านและในประเทศไทย และมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งเสียชีวิต เรามาทำความรู้จักกับโรคมือเท้าปากให้มากขึ้นกันดีกว่า…

           โรคมือเท้าปาก (Hand, Foot and Mouth Disease) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหลายชนิด ติดต่อได้ง่ายโดยการสัมผัสกับเชื้อโดยตรงจากตัวผู้ป่วย หรือจากเชื้อที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมือเท้าปากที่มีความรุนแรงและมีการกล่าวถึงบ่อยคือ เอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า EV 71 ซึ่งพบไม่บ่อยในประเทศไทย

โรคมือเท้าปากพบบ่อยในเด็กเล็กอายุ 1-5 ขวบ เป็นโรคที่พบอยู่เป็นประจำในบ้านเราและมีการแพร่ระบาดเป็นครั้งคราวในสถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนชั้นอนุบาล และโรงเรียนชั้นประถม ผู้ป่วยในประเทศไทยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง พบผู้ป่วยเสียชีวิตน้อยมาก โรคนี้พบน้อยในเด็กโตและผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กโตและผู้ใหญ่มักติดเชื้อดังกล่าวไปแล้วตั้งแต่วัยเด็กเล็ก โดยส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือมีอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย

อาการชวนสงสัย

ผู้ป่วยโรคมือเท้าปากจะมีอาการไข้เหมือนกับอาการไข้หวัดทั่วไป แต่จะมีอาการเจ็บในช่องปาก ตรวจพบตุ่มหรือแผลภายในช่องปาก และมักตรวจพบตุ่มน้ำใสที่บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้าร่วมด้วย

เมื่อมีการแพร่ระบาดของโรคมือเท้าปากในสังคม ทำให้ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเด็กเล็ก ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์และเฝ้าดูอาการเจ็บป่วยของเด็กเล็กโดยใกล้ชิด การตรวจสุขภาพของเด็กโดยการวัดไข้ และตรวจหาตุ่มน้ำใสในช่องปาก ฝ่ามือ และฝ่าเท้า และแยกผู้ป่วยออกจากเด็กอื่นหรือส่งกลับบ้าน เป็นมาตรการสำคัญที่นำมาใช้ในการควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัด

ดูแลรักษา

ผู้ป่วยโรคมือเท้าปากในประเทศไทยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ทุกราย พ่อแม่ผู้ปกครองและครูสามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเบื้องต้นที่บ้านและที่โรงเรียนได้

โรคมือเท้าปากไม่มียาที่ใช้ในการรักษาจำเพาะ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการด้วยการให้ยาลดไข้ ยารักษาหวัด และยาทาตุ่มในช่องปากเพื่อลดอาการเจ็บ ควรดื่มน้ำมาก ๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ

การดื่มน้ำเย็น อมน้ำแข็ง หรือกินไอศกรีมเพื่อให้เกิดอาการชาในช่องปาก จะช่วยทำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ และรับประทานอาหารได้เพียงพอ ลดโอกาสในการต้องรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลเพื่อให้สารน้ำหรือน้ำเกลือทางหลอดเลือดได้มาก

จับตาอาการรุนแรง

           ผู้ป่วยโรคมือเท้าปากที่ทำให้สงสัยว่าอาจมีอาการรุนแรง คือ

มีไข้สูงอยู่นานหลายวัน

มีอาการซึม แขนขาเกร็ง เดินเซ และมีอาการชัก

มีความผิดปกติของการหายใจและการเต้นของหัวใจ

หากมีอาการดังกล่าวต้องรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและรักษาโดยเร็ว เพราะผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมอง ซึ่งได้แก่ภาวะแกนสมองอักเสบ ซึ่งแม้จะพบได้น้อยมาก แต่มีความรุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

วิธีห่างไกลโรคมือเท้าปาก

 การป้องกันโรคมือเท้าปากทำได้ยาก เนื่องจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนี้มีการติดต่อจากผู้ป่วยไปยังเด็กคนอื่นได้ง่าย ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการป้องกัน การป้องกันที่สำคัญคือ

 การหลีกเลี่ยงในการพาเด็กเล็กเข้าไปในที่ชุมชนโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรค ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้าหรือโรงพยาบาล หลีกเลี่ยงการส่งเด็กไปฝากเลี้ยงในสถานรับเลี้ยงเด็กโดยไม่จำเป็นหรือก่อนวัยอันควร

 ผู้ป่วยโรคมือเท้าปากควรให้แยกออกจากเด็กคนอื่นโดยให้หยุดพักอยู่ที่บ้าน การปิดสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานศึกษาชั่วคราว กรณีพบผู้ป่วยหลาย ๆ คน มีความจำเป็นในภาพควบคุมโรค ควรทำความสะอาดห้องต่าง ๆ ภายในอาคาร และทำความสะอาดของเล่นเด็ก

 รณรงค์ให้เด็กและผู้ใหญ่ที่ทำงานกับเด็กล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ และหลังจากการสัมผัสของเล่น

ขอขอบคุณรูปภาพจาก : HosThai.com

Facebook
Twitter
LinkedIn
Telegram
Pinterest
5/5
โรคเอดส์ รักษาเอดส์
สุขภาพ

ความหวังของโรคเอดส์ และการวิจัยทางการแพทย์

การดูแล สุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วย โรคเอดส์ และ ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV การรับประทานยาต้านไวรัสเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญ การดูแลสุขภาพควบคู่ยิ่งสำคัญ

สารสกัดจากกัญชา และกัญชง
สุขภาพ

สารสกัดจากกัญชา และกัญชง มีสารอะไรสำคัญต่อสุขภาพ

สารสกัดจากกัญชา และกัญชง มีสารอะไรสำคัญต่อสุขภาพ สาร CBC พบในกัญชง ส่วนสาร THC พบในกัญชา สารทั้งสองตัวนี้ มีประโยชน์ และผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน