อาจดูเหมือนโรคนี้น่ากลัว แต่คุณป้องกันได้ ง่ายๆ แค่ใช้ชีวิตอย่างมีสุข กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย นอกจากนี้ควรฝึกสติเพื่อรู้ทันอารมณ์ของตัวเองว่ามีความเครียดมากเกินไปหรือไม่ รวมถึงการทำสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบอยู่กับปัจจุบันและให้สมองได้ผ่อนคลาย รับรองสุขภาพดีทั้งกายใจห่างไกลโรคอย่างแน่นอน
มีทางเลือกในการรักษาโรควิตกกังวลหลายวิธี โดยทางเลือกเหล่านี้จะขึนอยู่กับอาการและประเภทของโรควิตกกังวลที่เป็น ไม่ใช่ทุกการรักษาจะเหมาะกับทุกคน คุณอาจจต้องลองเข้ารับการรักษาหลายวิธีหรือใช้หลายวิธีร่วมกันก่อนที่จะพบวิธีที่เหมาะกับคุณมากที่สุด
อาการของโรควิตกกังวลขึ้นอยู่กับประเภทของโรควิตกกังวล โดยอาการทางกายและใจที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป ได้แก่
-มีอาการตื่นตระหนก กลัว และไม่สบายใจ
-ไม่สามารถอยู่ในความสงบได้ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ
-มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
-มือและเท้าเย็น หรือเหงื่อแตก
-หายใจตื้น
-ใจสั่น
-เจ็บหน้าอก
-ปากแห้ง
-มีอาการเหน็บชาที่มือและเท้า
-มีอาการคลื่นไส้
-เวียนศีรษะ
-ปวดศีรษะ
-กล้ามเนื้อตึงเกร็ง
-มีความอ่อนล้า เหนื่อยง่าย
-มีอาการสั่น
ถึงแม้ว่าโรควิตกกังวลจะไม่สามารถป้องกันได้ อย่างไรก็ตาม มีวิธีที่จะช่วยควบคุมหรือบรรเทาอาการให้ทุเลาลงได้ เช่น
หลีกเลี่ยงหรืองดการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต หรือเครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่อาจกระตุ้นให้อาการของโรควิตกกังวลแย่ลงได้
ก่อนซื้อยารักษาโรคหรือสมุนไพรต่าง ๆ ตามร้านขายทั่วไป ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน เพราะยาหรือสมุนไพรบางชนิดอาจมีส่วนประกอบที่อาจกระตุ้นอาการวิตกกังวลได้
ควรฝึกทำจิตใจให้ผ่อนคลายและรู้จักปล่อยวางด้วยการฝึกทำสมาธิ ซึ่งจะช่วยจิตใจสงบ
หากรู้ตัวว่าตนเองเริ่มมีความวิตกกังวลอยู่บ่อยครั้งโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน ควรไปพบจิตแพทย์หรือผู้ให้คำปรึกษาเพื่อขอความช่วยเหลือ ทำความเข้าใจ และหาวิธีแก้ไขต่อไป