โรคอัลไซเมอร์ มหันตภัยเงียบ
โรคอัลไซเมอร์ มหันตภัยเงียบ ที่บอกเลยว่าในตอนนี้เป็นภัยคุกคามแบบที่คนที่เพิ่งเข้าสู่วัยทองหรือจะได้ว่าเป็นวัยของคนชรานั้นก็อาจจะต้องระมัดระวัง ซึ่งบางครั้งอาจจะเกิดขึ้นได้แบบไม่รู้ตัวโดยที่บางคนงานแทบจะไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมและเตรียมใจที่จะรับปัญหาเหล่านี้มาก่อน แล้วบอกเลยว่าจริงๆแล้วเป็นโรคที่หลายคนมักจะมีความเข้าใจแค่ว่าเป็นการหลงลืมธรรมดาไม่ได้มีการอันตรายใดๆทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเราก็จะมาทำความรู้จักแบบที่ดูเฉพาะจุดสำคัญ เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการเตรียมความพร้อมหรือการสังเกตว่าเรานั้นจะต้องทำอะไรหรือจะต้องเตรียมการรักษาอย่างไร
อัลไซเมอร์ โรคความเสื่อมถอยของโครงสร้างเนื้อเยื่อของสมอง พบมากในผู้สูงอายุ และพบได้ในวัยผู้ใหญ่ด้วย ซึ่งเกิดจากโปรตีน Beta-amyloid ที่ส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง ประสิทธิภาพของสมองในส่วนของ Hippocampus ซึ่งช่วยในการจดจำ เรียนรู้ ความคิด ทำงานลดลง และทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสาร Acetylcholine ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท และมีผลโดยตรงต่อความทรงจำ
อัลไซเมอร์ ไม่ใช่แค่หลงลืม
อาการแรกเริ่มที่สำคัญของผู้ป่วยอัลไซเมอร์คือการสูญเสียความจำระยะสั้น ซึ่งเป็นอาการที่ใกล้เคียงกับภาวะความจำเสื่อมตามธรรมชาติในผู้สูงอายุ แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยร้อยละ 80-90 จะมีอาการทางพฤติกรรมหรือทางจิตเวชร่วมด้วย ซึ่งอาการทางพฤติกรรมนี่เองที่ทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะรายที่มีอาการก้าวร้าว
อาการทั่วไปของโรคอัลไซเมอร์
ระยะ 1 ความจำถดถอย ชอบพูดเรื่องเดิมๆ พูดซ้ำๆ พูดย้ำๆไปมา ถามซ้ำ มีความเครียด มีอารมณ์เสียง่ายและมีภาวะซึมเศร้า แต่ยังช่วยเหลือตนเองได้ ญาติต้องให้ความรัก ความเข้าใจ ก็จะกลับมาเป็นปกติได้
ระยะ 2 ความจำแย่ลง ไม่รู้สึกตัวว่าทำอะไร เช่น เดินไปมา พูดคุยคนเดียว หงุดหงิด ฉุนเฉียว พูดจาโฮกฮาก ก้าวร้าว หยาบคาย ใจร้อน พฤติกรรมเปลี่ยนไปเป็นคนละคนได้ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ในบางเรื่อง คิดไปเองต่างๆนาๆ ซึ่งหากมีอาการดังกล่าว ที่ญาติรู้สึกได้ ต้องรีบพาไปปรึกษาแพทย์โดยด่วนที่สุดก่อนที่อาการจะหนักขึ้น
ระยะ 3 ระยะที่ผู้ป่วยเริ่มไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม และคนรอบข้าง สุขภาพแย่ลง นอนติดเตียง ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากไปไหน ไม่อยากช่วยเหลือตนเอง ภูมิคุ้นกันในร่างกายแย่ลงตามลำดับ และจะเสียชีวิตในที่สุด
ความเข้าใจในเรื่องอัลไซเมอร์ หากมีคนป่วยในบ้านของเรา ในครอบครัวของเรา
การที่เราจะอยู่กับผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราเองก็จะต้องเข้าใจในโรคนี้ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ไม่ใช่แค่การเข้าใจตัวผู้ป่วยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงแล้วในการที่เราจะต้องทำความเข้าใจนั่น หมายถึงเรื่องของระดับความรุนแรงของอาการจากโรค เพราะอย่างที่รู้กันดีว่าเมื่อเซลล์บางส่วนเริ่มเสื่อมและถดถอยลงไปเรื่อยๆ ก็จะมีการกระจายตัวเป็นวงกว้าง ซึ่งก็ถือว่าเป็นสาเหตุที่จะทำให้อาการต่างๆนั้นแย่ลงกว่าที่จะคาดคิดกันเอาไว้ ซึ่งก็จะถูกแบ่งเป็น 3 ระดับ ในระดับสุดท้ายนั้นจะถือว่าเป็นรูปแบบที่แย่ที่สุดเพราะไม่สามารถที่จะตอบโต้ใดๆได้แล้ว
การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ เราต้องเป็นนักสังเกตุ และดูอาการอย่างใกล้ชิด เข้าใจสภาวะของโรค การพบแพทย์เป็นประจำจะทำให้เราได้รับรู้ถึงระยะของโรคและอาการของโรคที่เป็นอยู่ และปรับการรักษาที่เหมาะสมกับอาการป่วยที่ผู้ป่วยเป็น โดยแพทย์จะให้ยาในการรักษา และญาตต้องช่วยกันให้กำลังใจ ใจต้องเย็น และต้องเข้าใจผู้ป่วยอย่างแท้จริง ต้องมีความอดทนในการดูแลผู้ป่วยและมีความพยายามที่จะเข้าใจผู้ป่วย และความเสื่อมของโรคของเซลสมอง ต้องหมั่นสังเกตุพฤติกรรมต่างๆ อย่าให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ให้กำลังใจ ไม่พูดขัดแย้ง ทั้งที่รู้ว่าไม่ใช่ เพราะการที่เราจะคล้อยตามกับบางเรื่องที่ผู้ป่วยพูดถึงจะทำให้เราและผู้ป่วยเข้าถึงกันได้ดี และหากิจกรรมที่จะให้ผู้ป่วยได้ทำ ได้คิด เช่นสวดมนต์ พาไปเดินเล่นที่สวน นับสิ่งของ ต้นไม้ ดอกไม้ ให้มีกิจกรรมที่เขาจะได้คิดไปพร้อมกับเรา และรักเขาให้มากๆ ความรักความเอาใจใส่จะช่วยกระตุ้นสมองบางส่วนให้เขาได้จดจำ และเริ่มคิดถึงตัวของเรา และเสมือนเป็นการฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงความทรงจำให้กับเขาจะช่วยให้เขาได้มีชีวิตอยู่กับเราได้นานขึ้น เฝ้าระวังการติดเชื้อและโรคฉาบฉวย ความสะอาดเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง และรอยยิ้ม เป็นมิตรไมตรี กำลังใจเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์