ไบโพลาร์ โรคที่มาตามยุคสมัย
ยุคนี้เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมต่างๆของคนก็เปลี่ยนไป การดำรงชีวิต ความเร่งรีบ ปัญหาสุขภาพทางกาย และจิตใจ ส่งผลต่อพฤติกรรมการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคมเมืองอย่างเด่นชัด จึงทำให้ เกิดสภาวะทางอารมณ์ ที่แปรเปลี่ยน เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย เดี๋ยวซึมเศร้า เดี๋ยวมีความสุข เรียกว่า หลากหลายทางอารมณ์ ถือว่าเป็นหนึ่งในปัญหาทางสุขภาพ ของคนไทย และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย โรคนี้เราเรียกชื่อกันว่า ไบโพลาร์
คนไทยประมาณร้อยละ 10-15 มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ที่สำคัญคือมีเพียงประมาณ 1% เท่านั้นที่มาพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษา ซึ่งต้องยอมรับว่า จำนวนผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนหรือ “ไบโพลาร์” มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในทุกปี และคนไข้ 1 ใน 5 มีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายได้สำเร็จ
จึงทำให้เราได้รับข่าวสาร เกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ในวัยรุ่น วัยเรียน วัยผู้ใหญ่ หรือในวัยผู้สูงวัย ที่สำคัญคือ กลุ่มคนป่วยนั้น ยังไม่รู้ว่า ตนเองป่วย และกลัวการที่จะยอมรับว่าป่วย และต้องเข้าพบกับแพทย์ เนื่องด้วยความเข้าใจผิดผสมกับความกลัว ทำให้การเข้าถึงการรักษาโรคดังกล่าว เข้าถึงได้ยากกว่า และทำให้ยอดคนป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และไม่ได้รับการบำบัดอย่างทันท่วงที กลายเป็นปัญหาทางสังคมไทย ที่ต้องเร่งช่วยกันแก้ไข
โรคไบโพลาร์ ไม่เพียงแต่อยู่กับตนเองเท่านั้น ไม่เพียงแค่ คิดสั้นฆ่าตัวตายเท่านั้น แต่ความรุนแรงของโรคนี้ ส่งผลต่อการทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายคนในครอบครัว ทำร้ายตนเอง และทำร้ายคนที่เขาไม่รู้จัก ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ทั้งสิ้น 32,502 คน จากผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด 712,359 คน หรือร้อยละ 4.5
โดยสถิติพบว่า คนไข้ 1 ใน 5 สามารถฆ่าตัวตายได้สำเร็จ และมีอีกหลายราย ที่ทำร้ายผู้อื่นได้สำเร็จ แต่ไม่มีสถิติเก็บเอาไว้ มีเพียงข่าว การทำร้ายร่างกายผู้อื่น ให้เราได้ยินอยู่บ่อยๆ แต่ใครจะรู้ได้ว่า อาจเป็นเพราะโรคไบโพลาร์ ก็ได้ ที่ส่งผลให้เกิดความรุนแรงทางสังคมขึ้นมาได้
โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) ถือว่าเป็นกลุ่มอาการของโรค ที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ หรือจะเรียกได้ว่ามีอารมณ์สองขั้วที่เปลี่ยนแปลงไปมาอย่างชัดเจน แบบแรกคือมีพฤติกรรมอารมณ์แบบเศร้า เหงา เปล่าเปลี่ยว และอีกแบบคือมีอาการพลุ่งพล่าน หรือแมเนีย ซึ่งทั้งสองอารมณ์นั้น จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นช่วงๆ ตามสภาวะการณ์ทางอารมณ์ อารมณ์สลับกันไปมา คนปกติอาจจะสังเกตุอาการไม่ออก เนื่องด้วยดูเหมือนคนปกติทั่วไป และทำทุกอย่างได้เหมือนคนปกติ แต่คนป่วย จะมีสภาวะการควบคุมอารมณ์ตนเอง ไม่ค่อยได้ เปลี่ยนไปมาได้ทั้งสองแบบ
โรคไบโพลาร์ เกิดขึ้นได้ จากหลายเหตุปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น พันธุกรรม การเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อม การอยู่ในครอบครัว ที่มีพ่อ หรือ แม่ ที่มีสภาวะทางอารมณ์ที่เป็นไบโพลาร์ อาจส่งผลต่อลูกๆ ให้ได้รับความกระทบทางจิตใจ และอาจจะกลายเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน ความเครียดจากทั้งครอบครัว หรือการเรียน ที่ทำงาน ก็ส่งผลต่อการเกิดสภาวะของโรคไบโพลาร์ได้ ผู้ที่เริ่มป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ จะมีการแสดงออกทางอารณ์สองแบบ อย่างเห็นได้ชัดเจน หากคนใกล้ชิดช่วยกันดูแล และสังเกตุ เวลาที่ดีใจ ตื่นเต้น
ก็จะมีอาการแสดงออกมากกว่าปกติ และเป็นเวลานาน แต่หากมีสภาวะแห่งความเศร้าใจ ก็จะซึมเศร้ามากกว่าปกติ ชอบอยู่คนเดียว เก็บกด เป็นเวลานานเป็น 1 – 2 สัปดาห์เลยทีเดียว หรืออาจจะยาวนานเป็นเดือน ผู้ป่วยจะร้องไห้ หดหู่ รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า ไม่มีความหมาย ไม่อยากกินข้าว ไม่อยากทำอะไร และร้ายแรงสุดคือ ไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ในโลกใบนี้ หรือคิดว่าทุกคนคือศัตรู คือคนที่ไม่ดี ก็อาจจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว และทำร้ายร่างกายผู้อื่นได้ ดูแล้วอาจเหมือนคนบ้า วิกลจริต แต่ยังมีสติ และรับรู้ทุกอย่างได้ เหมือนคนเป็นโรคซึมเศร้า แต่ก็มีอารมณ์อีกทางสวนกลับ
ปัจจุบัน แม้ยังไม่มีการยืนยันว่าโรคไบโพลาร์นั้นไม่สามารถรักษาหายขาดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ผู้ป่วยไบโพลาร์ที่ยอมรับการรักษาก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ดังเช่นคนปกติ สิ่งสำคัญ คือคนในครอบครัว ต้องเข้าใจ ว่ามีคนป่วยด้วยโรคนี้ อยู่ในบ้าน เราต้องช่วยกันดูแลสุขภาพ ของผู้ป่วย ทั้งทางกาย และจิตใจ
รวมถึงการพาคนป่วย ไปพบแพทย์ เพื่อประเมินอาการ และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ก็จะช่วยให้ผู้ปวย กลับมาใช้ชีวิต ได้เหมือนคนปกติทั่วไป
คนในครอบครัว ต้องหันมาสนใจและดูแลซึ่งกันและกัน รวมไปถึง คนใกล้ชิด คนในสังคม ต้องเข้ามามีส่วนร่วมกันแก้ไข สภาวะทางจิตใจ ของโรค ไบโพลาร์ ช่วยกันดูแล ช่วยกันแก้ไข ช่วยกันเข้าใจ และก้าวต่อไป กับผู้ป่วย ด้วยความรักและเอื้ออาทรกัน